FOR FOOD & BEVERAGE

Fundamental of Mixing – TH version

การผสม เป็นการนำสารหรือองค์ประกอบตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมให้เป็นของผสมที่มีการกระจายตัวของสารองค์ประกอบหนึ่งอยู่ในสารอีกองค์ประกอบหนึ่ง ให้มีลักษณะเป็นเป็นสารผสมเนื้อเดียวกัน การผสมเป็นกระบวนการผลิตหนึ่งที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การแปรรูปอาหาร การผลิตยาและเวชภัณฑ์  การทำเหมืองแร่ การขึ้นรูปโลหะผง (powder metallurgy) กระบวนการผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี  ในอุตสาหกรรมอาหาร การผสมเป็นการรวมส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและคุณลักษณะรสสัมผัสที่ต้องการ ระหว่างขั้นตอนการผสมอาจมีอุปกรณ์การลดขนาดและการขับรีดสารผสม (extruder) ร่วมอยู่ด้วย ตัวอย่าง : การพัฒนาเนื้อสัมผัสของเบเกอรี่และไอศครีม การควบคุมการเกิดผลึกของน้ำตาล  การตีฟองของส่วนผสมของแป้ง นม ไข่ ในการทำเค้กหรือแพนเค้ก  การทำช็อคโกแลต การผสมของแข็ง การผสมของแข็งให้ได้คุณลักษณะสารผสมที่ต้องการขึ้นอยู่กับ ขนาดอนุภาคที่สัมพันธ์กัน รูปร่าง และ ความหนาแน่นของแต่ละสารที่นำมาผสมกัน ปริมาณความชื้น คุณลักษณะพื้นผิวและการไหลของของแข็งแต่ละตัว แนวโน้มของสารที่จะรวมตัวกันเป็นก้อน ประสิทธิภาพของเครื่องผสม ปัจจัยที่มีผลต่อการผสมของแข็ง ขนาดอนุภาค : การผสมง่ายขึ้นเมื่ออนุภาคของแต่ละสารมีขนาดใกล้เคียงกัน รูปร่าง : รูปร่างทรงกลมผสมกันได้ง่ายกว่ารูปร่างอื่นๆ การดึงดูดระหว่างอนุภาค : ประจุไฟฟ้าสถิตย์ทำให้เกิดการผสมที่ไม่ดีนัก ความหนาแน่นของสาร : สารที่หนาแน่นกว่ามักตกอยู่ด้านล่าง สัดส่วนของสาร : อัตราส่วนผสม 1:1 เป็นการผสมที่ดีที่สุด เครื่องผสมของแข็งแบบต่างๆ เครื่องผสมในถังดรัม (ถังโลหะทรงกระบอก) เป็นการผสมสารที่เป็นผงแห้ง เม็ด ในปริมาณน้อยแบบแบทช์ ถังดรัมมาตรฐาน 200 ลิตร (หรือขนาด 100 ลิตร หรือ 50 ลิตร) สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดิ่ม เคมี สีผง ยา เวชภัณฑ์ 2. เครื่องผสมในถังทัมเบลอร์ Double Cone Mixer V-shaped Mixer ปัจจัยที่พิจารณาในการใช้งานเครื่องผสมแบบถังทัมเบลอร์ ใช้ความเร็วที่เหมาะสมที่สุด ปริมาตรของสารที่ใส่ลงในถังผสมไม่เกิน 50 % ของปริมาตรถัง 3. เครื่องผสมแบบใบพาย มีทั้งการใช้งานผสมเป็นแบทช์และแบบต่อเนื่อง  สามารถติดตั้งหัวสเปรย์ฉีดของเหลวเพื่อการผสมลงในผงของแข็งขณะผสมอยู่ มีแบบแกนหมุนคู่ซึ่งให้การผสมแบบแรงเฉือนต่ำ เนื่องจากเกิดโซนการผสมแบบฟลูอิดไดซ์ (ของผสมถูกทำให้ลอยในอากาศและผสมกันระหว่างนั้น-เหมาะกับสารผสมที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน สามารถผสมกันได้ง่ายและเร็ว) 4. เครื่องผสมแบบใบริบบอน เป็นถังผสมรูปตัว U มีแกนหมุนใบแบบริบบอนในแนวนอน ซึ่งทำให้สารผสมถูกยกตัวจากล่างขึ้นบน และเคลื่อนไปข้างหน้าเหมือนขับเคลื่อนจากการลำเลียงด้วยสกรู สามารถผสมสารที่เป็นของแข็งกึ่งเหลวได้ การผสมมีแรงเฉือนด้วย ซึ่งเหมาะกับการผสมสารที่ต้องการลดขนาดอนุภาคไปในตัว 5. เครื่องผสมแบบสกรูแนวตั้งในถังรูปโคน เป็นการผสมแบบแบทช์และประยุกต์ใช้เป็นเครื่องทำให้แห้งโดยใช้ความดันสูญญากาศขณะผสม หรือเป็นเครื่องลดฟองอากาศที่เกิดจากการผสม เป็นการผสมแบบไม่รุนแรง เกิดความร้อนขณะผสมต่ำ และให้สารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกันที่มีประสิทธิภาพสูง การผสมของเหลว ในกระบวนการผลิต การผสมของเหลวเพื่อให้ได้สารผสมที่เป็นสารแขวนลอย อิมัลชั่น สารละลาย และ แอโรซอลส์ เครื่องกวนผสมของเหลวมีใบกวนแบบต่างๆ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะในการสร้างรูปแบบการไหลของของเหลวระหว่างกวนผสม โดยการพิจารณาถึงผลลัพธ์ของของผสมที่ได้จากการเลือกใช้ใบกวนที่เหมาะสม เช่น การสร้างกระแสน้ำวน การเพิ่มแรงเฉือนหรือลดแรงเฉือน การกระจายความร้อนที่เกิดจากการกวนผสม หรือ การเกิดฟองอากาศ รูปแบบการไหลของของเหลว การไหลแนวขนานกับแกนกวน (Axial Flow) : สำหรับการกวนผสมระหว่างของเหลวกับของเหลว การเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน หรือการเกิดกระแสน้ำวน ตัวอย่างใบกวน/ใบพัด – แบบมารีน ให้แรงเฉือนต่ำ ให้คุณสมบัติการปั๊มดี การไหลแนวรัศมีใบกวนหรือแนวตั้งฉากกับแกนกวน (Radial Flow) : สร้างแรงเฉือนและกระแสการไหลแบบปั่นป่วน สำหรับการกวนผสมของแก๊สและของเหลว หรือการกวนผสมของเหลวอิมัลชั่น ตัวอย่างใบกวน/ใบพัด – Rushton, Saw Disc (แรงเฉือนสูง) การไหลแนวเส้นสัมผัสของรูปทรงถังกวนที่เป็นวงกลม (Tangential Flow)…

mayonnaise

Basic of Food Emulsions – TH version

โดยทั่วไป ของเหลวอิมัลชัน เป็นโครงสร้างที่เกิดจากการกระจายตัวของของเหลวที่ไม่สามารถผสมเป็นเนื้อเดียวกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป เช่น น้ำกับน้ำมัน โดยของเหลวชนิดหนึ่งแตกตัวเป็นหยดเล็กๆ เรียกว่า ส่วนที่กระจายตัวหรือวัฏภาคภายใน (Internal or Dispersed Phase) ซึ่งกระจายตัวแทรกอยู่ในของเหลวอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ส่วนที่ต่อเนื่องหรือวัฏภาคภายนอก (External or Continuous Phase) วัตถุประสงค์หลักของการผลิตหรือการคิดสูตรส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวหรือสารละลายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายตัวของสองวัฏภาค คือการทำให้เกิดความคงสภาพหรือมีอายุการเก็บรักษาให้ได้นานที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอิมัลชันหรือ สารแขวนลอย สารแขวนลอย (ของแข็ง/ของเหลว) และอิมัลชัน (ของเหลว/ของเหลว) เป็นตัวอย่างของการกระจายตัวของสองวัฏภาค สารทำละลายเป็นวัฏภาคต่อเนื่อง ในขณะที่ อนุภาคของแข็ง หรือหยดของเหลวอิมัลชัน เป็นวัฏภาคการกระจายตัว การพิจารณาความคงตัวหรือคงสภาพของการกระจายตัวคือการที่วัฏภาคการกระจายตัวสามารถรักษาความคงที่ของขนาดอนุภาค และการแขวนลอย เมื่อระยะเวลาผ่านไป  ความไม่คงสภาพของของเหลวอิมัลชัน สังเกตจากเมื่อเวลาผ่านไปอนุภาคในวัฏภาคกระจายตัวเกิดการเกาะรวมตัวเป็นกลุ่มอนุภาคก้อนใหญ่ หรือหลอมรวมตัวกัน แล้วลอยตัวสู่ผิวด้านบนเป็น ครีมมิ่ง และเกิดการแยกชั้นของของเหลว  ความไม่คงสภาพของสารแขวนลอยมีลักษณะใกล้เคียงกับของเหลวอิมัลชันในรูปแบบการเกาะกลุ่มของอนุภาค หรือหลอมรวมกลุ่มของอนุภาคแล้วตกตะกอนสู่พื้นผิวด้านล่างเกิดการแยกชั้นของสองวัฏภาค ตัวอย่างอาหารที่เป็นอิมัลชัน ; นม โยเกิร์ท ครีม เนย มาการีน น้ำผลไม้ ซุป เค้ก พาสตรี้ มายองเนส น้ำสลัด ครีมเทียม ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ ไอศครีม เป็นต้น อาหารที่เป็นอิมัลชันมีความแตกต่างในเรื่องคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส ได้แก่ ลักษณะปรากฎ กลิ่น ผิวสัมผัส รสชาติ และอายุการเก็บรักษา ตัวอย่าง นมเป็นของเหลวสีขาวความหนืดต่ำ โยเกิร์ทเป็นเจลสีชมพู ยืดหยุ่นและข้นหนืด  มาการีนเป็นสารกึ่งของแข็งสีเหลือง การผลิตอาหารอิมัลชันมีคุณลักษณะที่กำหนดคุณภาพเฉพาะโดยการพิจารณาเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสม รวมถึงขั้นตอนหรือวิธีการในการผลิต ตัวอย่าง ขั้นตอนการผสม การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน การฆ่าเชื้อแบบพาสเจอไรซ์ แบบสเตอริไรซ์ แบบใช้น้ำอัดแรงดันสูง (HPP-High Pressure Processing) HPP Diagram วัฏภาคน้ำในอิมัลชันอาหารมีบทบาทสำคัญในการพิจารณาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพและคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส (การชิม การดูด้วยตา การดมกลิ่น และการสัมผัสด้วยมือ) คุณลักษณะทางโครงสร้างและโมเลกุลเฉพาะตัวของน้ำช่วยเพิ่มหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น เป็นตัวกลางในการทำละลาย และการทำปฏิกิริยากับสารประกอบที่ถูกละลายในน้ำได้ (แร่ธาตุ กรด ด่าง สารปรุงแต่งกลิ่น สารกันบูด วิตามิน น้ำตาล อิมัลซิฟายอิ้งเอเจนท์ โปรตีน โพลีแซคคาไรด์ เป็นต้น) วัฏภาคน้ำมันในอิมัลชันอาหารทำหน้าที่เหมือนสารทำละลายสำหรับองค์ประกอบสำคัญในอาหาร เช่น วิตามินที่ละลายได้ในน้ำมัน สารต้านออกซิเดชัน สารกันบูด และน้ำมันหอมระเหย การผลิตอิมัลชันและความคงสภาพของอิมัลชัน ขั้นตอนการผลิตอิมัลชันต้องใช้แรงเชิงกลในการตีกวนผสมระหว่างของเหลวสองวัฏภาค โดยการใช้เครื่องผสมแบบแรงเฉือนสูง* เครื่องโฮโมจีไนเซชัน เครื่องผสมแบบเมมเบรน หรือเครื่องผสมแบบอัลตร้าโซนิค** การใช้ปริมาณแรงเฉือนและเวลาที่เหมาะสมมีผลต่อขนาดและความคงสภาพของหยดอนุภาคในวัฏภาคการกระจายตัว รวมถึงการใช้สารอิมัลซิไฟเออร์ในปริมาณที่เพียงพอต่อการสร้างผนังแรงผลักบนพื้นผิวของอนุภาคระหว่างสองวัฏภาค High Shear Inline Mixer การเกิดแรงปฏิสัมพันธ์เชิงเทอร์โมไดนามิคของหยดอนุภาคทำให้เกิดความไม่คงสภาพของอิมัลชันตามระยะเวลาที่ผ่านไป เช่น การเกาะกลุ่มของอนุภาค (coalescence/flocculation) การรวมกลุ่มของอนุภาค (aggregation/Oswald ripening) การเกิดการลอยตัว ครีมมิ่ง (floatation/creaming) การตกตะกอน (sedimentation) การเปลี่ยนแปลงวัฏภาค (phase inversion) สำหรับอิมัลชันในอาหาร การเกิดการแยกชั้นครีมมิ่ง การตกตะกอน หรือการเปลี่ยนแปลงวัฏภาค (จากอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำเป็นชนิดน้ำในน้ำมัน หรือกลับกัน) เป็นการบอกการหมดอายุในการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ความไม่คงสภาพของอิมัลชันในอาหารสามารถเกิดจากการเสื่อมสภาพทางเคมีของวัฏภาคการกระจายตัว เช่น การเกิดออกซิเดชันของลิปิด การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ Destability of Pretein Separation *บริษัทอีเนอจีติกซัน มีเครื่องผสมโฮโมจีไนเซชั่น เครื่องผสมแบบแรงเฉือนสูงทั้งแบบแบทช์และต่อเนื่อง (หรือ in…