FOR PHARMACEUTICAL & COSMETIC

sanitary ribbon mixer

Sanitary Ribbon Mixer by PerMix – TH version

เครื่องผสมใบกวนแบบริบบอนของเพอร์มิกซ์ที่ออกแบบให้มีความสะอาด ถูกสุขอนามัย โดยวัสดุสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ทำจากสแตนเลส 304 รวมถึงโครงสร้างภายนอกถังและแพลทฟอร์ม การออกแบบแบบ Stub Shaft* และ ใบกวนริบบอนแบบไม่มีการยึดติดด้วยโบลท์ ซึ่งทำให้ไม่เกิดการสะสมของผลิตภัณฑ์และไม่มีผลิตภัณฑ์ติดค้างตามช่องว่างหรือรอยต่อบริเวณ dead zone ในถังผสม นอกจากนี้ ยังสามารถถอดประกอบเข้าออกตัวเกียร์บ็อกซ์และใบกวน/แกนกวนได้ เพื่อการปรับเปลี่ยนการผสมที่ต้องการตามคุณลักษณะของของผสมจากใบกวนที่ถูกเปลี่ยน เช่น เป็นแบบใบพาย (paddle) หรือแบบคันไถ (plowshare) *Stub shaft คือเพลาที่ติดเป็นชิ้นส่วนต่อเนื่องกับเครื่องยนต์มอเตอร์ Download PerMix Ribbon Mixer PRB Datasheet – Thai version บริษัทเพอร์มิกซ์เทค ก่อตั้งในปี 2011 และใช้เครื่องหมายทางการค้า “PerMix” โดยมีเป้าหมายของบริษัทฯ ต้องการเป็นผู้ออกแบบและผู้ผลิตมืออาชีพทางด้านเครื่องผสมอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมทั้งการผสมของผสมที่เป็นผง เม็ด เกล็ดของแข็ง การนวดผสมของแข็งกึ่งเหลวหรือเพสต์ การกวนผสมของเหลวในกระบวนการ dispersing และ emulsifying รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์อื่นๆ ในกระบวนการผลิตที่ออกแบบตามความต้องการเฉพาะของลูกค้า ลูกค้าหลักๆ อาทิเช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมสี อุตสาหกรรมเคมี สอบถามเพิ่มเติม บริษัท อีเนอจีติก ซัน จำกัด | โทร. 095 8562473 | อีเมล์ sales@energeticsun.tech

Fundamental of Mixing – TH version

การผสม เป็นการนำสารหรือองค์ประกอบตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมให้เป็นของผสมที่มีการกระจายตัวของสารองค์ประกอบหนึ่งอยู่ในสารอีกองค์ประกอบหนึ่ง ให้มีลักษณะเป็นเป็นสารผสมเนื้อเดียวกัน การผสมเป็นกระบวนการผลิตหนึ่งที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การแปรรูปอาหาร การผลิตยาและเวชภัณฑ์  การทำเหมืองแร่ การขึ้นรูปโลหะผง (powder metallurgy) กระบวนการผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี  ในอุตสาหกรรมอาหาร การผสมเป็นการรวมส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและคุณลักษณะรสสัมผัสที่ต้องการ ระหว่างขั้นตอนการผสมอาจมีอุปกรณ์การลดขนาดและการขับรีดสารผสม (extruder) ร่วมอยู่ด้วย ตัวอย่าง : การพัฒนาเนื้อสัมผัสของเบเกอรี่และไอศครีม การควบคุมการเกิดผลึกของน้ำตาล  การตีฟองของส่วนผสมของแป้ง นม ไข่ ในการทำเค้กหรือแพนเค้ก  การทำช็อคโกแลต การผสมของแข็ง การผสมของแข็งให้ได้คุณลักษณะสารผสมที่ต้องการขึ้นอยู่กับ ขนาดอนุภาคที่สัมพันธ์กัน รูปร่าง และ ความหนาแน่นของแต่ละสารที่นำมาผสมกัน ปริมาณความชื้น คุณลักษณะพื้นผิวและการไหลของของแข็งแต่ละตัว แนวโน้มของสารที่จะรวมตัวกันเป็นก้อน ประสิทธิภาพของเครื่องผสม ปัจจัยที่มีผลต่อการผสมของแข็ง ขนาดอนุภาค : การผสมง่ายขึ้นเมื่ออนุภาคของแต่ละสารมีขนาดใกล้เคียงกัน รูปร่าง : รูปร่างทรงกลมผสมกันได้ง่ายกว่ารูปร่างอื่นๆ การดึงดูดระหว่างอนุภาค : ประจุไฟฟ้าสถิตย์ทำให้เกิดการผสมที่ไม่ดีนัก ความหนาแน่นของสาร : สารที่หนาแน่นกว่ามักตกอยู่ด้านล่าง สัดส่วนของสาร : อัตราส่วนผสม 1:1 เป็นการผสมที่ดีที่สุด เครื่องผสมของแข็งแบบต่างๆ เครื่องผสมในถังดรัม (ถังโลหะทรงกระบอก) เป็นการผสมสารที่เป็นผงแห้ง เม็ด ในปริมาณน้อยแบบแบทช์ ถังดรัมมาตรฐาน 200 ลิตร (หรือขนาด 100 ลิตร หรือ 50 ลิตร) สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดิ่ม เคมี สีผง ยา เวชภัณฑ์ 2. เครื่องผสมในถังทัมเบลอร์ Double Cone Mixer V-shaped Mixer ปัจจัยที่พิจารณาในการใช้งานเครื่องผสมแบบถังทัมเบลอร์ ใช้ความเร็วที่เหมาะสมที่สุด ปริมาตรของสารที่ใส่ลงในถังผสมไม่เกิน 50 % ของปริมาตรถัง 3. เครื่องผสมแบบใบพาย มีทั้งการใช้งานผสมเป็นแบทช์และแบบต่อเนื่อง  สามารถติดตั้งหัวสเปรย์ฉีดของเหลวเพื่อการผสมลงในผงของแข็งขณะผสมอยู่ มีแบบแกนหมุนคู่ซึ่งให้การผสมแบบแรงเฉือนต่ำ เนื่องจากเกิดโซนการผสมแบบฟลูอิดไดซ์ (ของผสมถูกทำให้ลอยในอากาศและผสมกันระหว่างนั้น-เหมาะกับสารผสมที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน สามารถผสมกันได้ง่ายและเร็ว) 4. เครื่องผสมแบบใบริบบอน เป็นถังผสมรูปตัว U มีแกนหมุนใบแบบริบบอนในแนวนอน ซึ่งทำให้สารผสมถูกยกตัวจากล่างขึ้นบน และเคลื่อนไปข้างหน้าเหมือนขับเคลื่อนจากการลำเลียงด้วยสกรู สามารถผสมสารที่เป็นของแข็งกึ่งเหลวได้ การผสมมีแรงเฉือนด้วย ซึ่งเหมาะกับการผสมสารที่ต้องการลดขนาดอนุภาคไปในตัว 5. เครื่องผสมแบบสกรูแนวตั้งในถังรูปโคน เป็นการผสมแบบแบทช์และประยุกต์ใช้เป็นเครื่องทำให้แห้งโดยใช้ความดันสูญญากาศขณะผสม หรือเป็นเครื่องลดฟองอากาศที่เกิดจากการผสม เป็นการผสมแบบไม่รุนแรง เกิดความร้อนขณะผสมต่ำ และให้สารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกันที่มีประสิทธิภาพสูง การผสมของเหลว ในกระบวนการผลิต การผสมของเหลวเพื่อให้ได้สารผสมที่เป็นสารแขวนลอย อิมัลชั่น สารละลาย และ แอโรซอลส์ เครื่องกวนผสมของเหลวมีใบกวนแบบต่างๆ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะในการสร้างรูปแบบการไหลของของเหลวระหว่างกวนผสม โดยการพิจารณาถึงผลลัพธ์ของของผสมที่ได้จากการเลือกใช้ใบกวนที่เหมาะสม เช่น การสร้างกระแสน้ำวน การเพิ่มแรงเฉือนหรือลดแรงเฉือน การกระจายความร้อนที่เกิดจากการกวนผสม หรือ การเกิดฟองอากาศ รูปแบบการไหลของของเหลว การไหลแนวขนานกับแกนกวน (Axial Flow) : สำหรับการกวนผสมระหว่างของเหลวกับของเหลว การเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน หรือการเกิดกระแสน้ำวน ตัวอย่างใบกวน/ใบพัด – แบบมารีน ให้แรงเฉือนต่ำ ให้คุณสมบัติการปั๊มดี การไหลแนวรัศมีใบกวนหรือแนวตั้งฉากกับแกนกวน (Radial Flow) : สร้างแรงเฉือนและกระแสการไหลแบบปั่นป่วน สำหรับการกวนผสมของแก๊สและของเหลว หรือการกวนผสมของเหลวอิมัลชั่น ตัวอย่างใบกวน/ใบพัด – Rushton, Saw Disc (แรงเฉือนสูง) การไหลแนวเส้นสัมผัสของรูปทรงถังกวนที่เป็นวงกลม (Tangential Flow)…

A Guide to Extend the Shelf Life of Your Makeup Products

How to know Cosmetic Products are expiring – TH version

ปกติเวลาของที่อยู่ในตู้เย็น ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้สด อาหารสำเร็จรูป หรือ เครื่องดื่มนม โยเกิร์ต นอกเหนือจากการดูวันหมดอายุที่ฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ การสังเกตรูป (ใบผักหรือผิวผลไม้เริ่มแห้งเหี่ยว) ลักษณะภายนอก (การแยกชั้นของน้ำมันกับน้ำในอาหารกล่องหรืออาหารปรุงสำเร็จ) และกลิ่น (กลิ่นหืนจากน้ำมันในอาหาร กลิ่นเปรี้ยวในนม) ก็เป็นสัญญาณบอกว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ หมดอายุแล้ว ควรทิ้งไป  สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว บำรุงเส้นผม ถ้าอายุการเก็บในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิทมากกว่า 30 เดือน อายุการใช้งานหลังเปิดฝา มักระบุเป็นจำนวนเดือนที่ใช้งานได้ เช่น 6 M (6 เดือน), 12 M (12 เดือน)  แต่ถ้าอายุการเก็บในบรรจุภัณฑ์น้อยกว่า 30 เดือน มักระบุเป็นวันเดือนปีที่หมดอายุหลังสัญลักษณ์รูปนาฬิกาทราย หรือ BBE หรือ Exp การใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยเฉพาะพวกผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือเครื่องสำอางบริเวณรอบๆ ดวงตา ที่หมดอายุ สามารถก่อให้เกิดอันตรายและปัญหาต่อผิวและบริเวณสัมผัส เช่น ผิวไหม้ ระคายเคือง การติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือไวรัส การเกิดตุ่มอักเสบบนผิวหนัง มีวิธีสังเกตง่ายๆในการดูผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางว่าหมดอายุแล้ว ดังนี้ ดูลักษณะเนื้อสัมผัส สี ภายนอก กลิ่น ที่แตกต่างจากการเปิดใช้ครั้งแรก หรือสังเกตเห็นการแยกชั้นของน้ำกับน้ำมัน  หรือใช้อุปกรณ์เช่นแปรง สำหรับใช้บนผิว บนพื้นผิวที่เกิดการติดเชื้อได้ง่ายและไม่สามารถทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนอุปกรณ์นั้นๆได้ อายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมีความสำคัญในแง่การใช้งานให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้บริโภค อายุการเก็บรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์ วิธีการใช้งาน และที่ที่ผลิตภัณฑ์ถูกเก็บรักษาทั้งก่อนเปิดใช้และหลังเปิดใช้ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย รา ยีสต์ จากนิ้วมือเวลาใช้จุ่มผลิตภัณฑ์แล้วมาทาที่ผิว ซึ่งปกติผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจุลินทรีย์มักผสมสารกันบูดลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป สารกันบูดก็มีความเสื่อมสภาพ ทำให้แบคทีเรียและเชื้อราเติบโตได้ อุปกรณ์ใช้ทา ปัด หรือตบ โดยเฉพาะแปรงปัดขนตามาสคารามีโอกาสปนเปื้อนแบคทีเรียและเชื้อราทุกครั้งที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอิมัลชั่น (ของผสมระหว่างน้ำกับน้ำมัน) สามารถแยกชั้นเมื่อสารให้ความคงตัวเสื่อมสภาพเมื่อเวลาผ่านไปหรือจากการกระตุ้นด้านความร้อน การสัมผัสกับความชื้น เช่น การวางผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำ มีโอกาสที่แบคทีเรียและเชื้อราเจริญเติบโตเร็ว ผลิตภัณฑ์แห้ง แข็ง แตก เนื่องจากเก็บในที่อุณหภูมิสูงหรือโดนแสงแดดโดยตรง การเปลี่ยนสี ลักษณะผิวสัมผัส กลิ่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ การโดนแสงแดด โดนลม ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ครีมกันแดด มีอายุประมาณ 2 ปีหลังจากเปิดใช้งาน อย่างไรก็ตาม ถ้าเก็บในที่ที่โดนความร้อนมากๆ ส่วนผสมตัวป้องกันสารกันแดดจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ และทำให้เนื้อโลชั่นหรือครีมมีความเข้มข้นเปลี่ยนไป การสังเกตว่าหมดอายุ ถ้ามีการเปลี่ยนของเฉดสีเนื้อครีม หรือมีกลิ่นไม่หอมเหมือนตอนเปิดฝาใหม่ๆ หรือสีครีมเปลี่ยนจากขาวเป็นเหลือง เนื้อครีมมีการแยกชั้น แสดงถึงการหมดอายุของครีมกันแดด   แชมพู เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความสวยงามอื่นๆ แชมพูเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บได้นานกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ เมื่อยังไม่เปิดฝาใช้งาน แชมพูสามารถเก็บบนชั้นสินค้าได้หลายปี แต่เมื่อเปิดฝาใช้งานอายุของมันหดเหลือ 2-3ปี ตามใดที่ฝาถูกปิดหลังการใช้และไม่ถูกเจือจางจากน้ำฝักบัว หรือปนเปื้อนจากราน้ำค้าง ปกติแชมพูที่เป็นเนื้อเจล มีอายุนานกว่าแชมพูที่เป็นเนื้อครีม การสังเกตว่าหมดอายุ ให้ดูกลิ่นและเนื้อสัมผัส ที่ผิดปกติ ครีมหรือโลชั่นให้ความชุ่มชื้นกับผิว ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวประเภทมอยเจอไรเซอร์ที่ดีมีอายุประมาณหนึ่งปี ขึ้นอยู่กับสภาพอุณหภูมิความชื้นที่เก็บรักษาหลังเปิดใช้ด้วย  แต่เมื่อไหร่ที่มีการเปลี่ยนแปลงของสีและกลิ่น ก่อนหนึ่งปี ให้ทิ้งไปเสีย เซรั่ม เซรั่มเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอีกประเภทหนึ่งที่มีส่วนผสมโมเลกุลขนาดเล็กกว่าเนื้อครีม เนื้อสัมผัสเซรั่มมีความบางเบากว่าเนื้อครีม มีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์สำคัญ (เช่น วิตามินซี) มากกว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอื่นๆ ภาชนะที่บรรจุเซรั่มมักเป็นแก้วทึบแสงที่มีหัวปั๊มหรือเป็นหลอดพลาสติกทึบที่มีหัวบีบขนาดเล็ก ทำให้การปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกจากนิ้วมือหรือความเสื่อมสภาพจากการถูกแสงยูวีจากแสงแดดน้อยลง อายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เซรั่มประมาณ 1 ปี อย่างไรก็ดีถ้าได้กลิ่นหรือเนื้อสัมผัสผิดปกติก็เป็นสัญญาณว่าเซรั่มขวดนั้นหมดอายุแล้ว รองพื้น (Foundation) รองพื้นมีหลายแบบตามเนื่อสัมผัส ได้แก่ รองพื้นเนื้อน้ำ  รองพื้นเนื้อครีม รองพื้นเนื้อมูส และรองพื้นเนื้อแป้ง  รองพื้นเนื้อน้ำมีอายุประมาณ 1 ปี…