FOR PAINT & COATING

paint with brushes rz

Basic Paint Production

Historically the first known paintings were found approx. 25,000 years ago in caves in France and Spain. The paintings depict humans, animals, and diagrams. The use of paint as a protective coating was applied by Egyptians and Hebrews to protect their ships. During the Middle Ages, artists began to boil resin with oil to obtain highly miscible paints. In the fifteenth century, they were the first to add drying oils to paint to speed up evaporation. The same artists also adopted a new solvent, linseed oil which remained the most commonly used solvent until synthetics replaced it during the twentieth century. Raw Materials Paint is composed of Pigments: give the paint color. Solvent: make it easier to apply. Resins or Binders: help it dry. Additives: serve as everything from fillers to anti-fungicidal agents. For instance: Pigments; titanium dioxide (white), carbon black (black), iron oxide and cadmium sulfide (red), metallic salts (yellow and orange), iron blue (blue), chrome yellows (green). Solvents;…

distillation sheme OFRU solvent recycling

หลักการกลั่นในเครื่องรีไซเคิลสารทำละลาย

การกลั่นคืออะไร การกลั่นคือกระบวนการทำให้ของเหลวระเหยเป็นไอ แล้วควบแน่นไอระเหยของของเหลวนั้นกลับมาเป็นของเหลว เก็บในถังเก็บ ตัวอย่างการกลั่นตามธรรมชาติ เช่น น้ำทะเลถูกความร้อนจากแสงแดดระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วสะสมและกักเก็บเป็นก้อนเมฆ ควบแน่นกลับมาเป็นฝน ทำไมหลักการกลั่นจึงถูกใช้ในระบบการรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้ว สารทำละลายใช้แล้วประกอบด้วยสารที่ระเหยได้ (สารทำละลาย) และสารที่ไม่ระเหย (สิ่งปนเปื้อน เช่น สี หมึก ไขมัน จารบี ใยแก้ว เป็นต้น)  สารปนเปื้อนที่ไม่ระเหยหลายตัวละลายในสารทำละลาย (ตัวอย่าง เกลือละลายในน้ำเป็นน้ำเกลือ) และไม่สามารถแยกด้วยการกรอง การกลั่นจึงเป็นวิธีที่สามารถแยกตัวถูกละลายออกจากสารทำละลายในของผสมสารละลายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างการกลั่นแบบพื้นฐานและการกลั่นลำดับส่วน การกลั่นแบบปกติสามารถแยกสารที่ไม่ระเหยและสารที่ระเหยได้ออกจากของผสมสารละลาย แต่ถ้าสารปนเปื้อนในสารทำละลายเป็นสารที่ระเหยได้เช่นเดียวกับสารทำละลาย การกลั่นลำดับส่วนสามารถจัดการแยกของผสมแบบนี้ได้ การกลั่นลำดับส่วนมีความซับซ้อนและราคาสูง ใช้หลักการคล้ายกับการกลั่นน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม การกลั่นลำดับส่วนสามารถใช้กับการรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้วบางแอพพลิเคชั่นเท่านั้น อะไรคือการกลั่นสภาวะสูญญากาศ การกลั่นภายใต้สภาวะสูญญากาศ คือการกลั่นของเหลวภายใต้ความดันบรรยากาศที่ถูกทำให้ลดลง เป็นผลให้สามารถต้มของเหลวให้ระเหยที่จุดเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่าค่าปกติของของเหลวนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของเครื่องหรือระบบไม่ให้เกิดการจุดติดไฟด้วยตัวเอง หรือเกิดการระเบิด การกลั่นสภาวะสูญญากาศยังช่วยลดเวลาในการกลั่นทั้งระบบ เป็นการลดพลังงาน ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย ขอบคุณครับ admin – 3.05.2019

waste bins

การจัดการของเสียโรงงานตามกฎหมาย

สวัสดีครับ โรงงานอุตสาหกรรมที่มีวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่งปฏิกูล มีความจำเป็นต้องบำบัด กำจัด และจัดการอย่างถูกต้องตามหลักการการบำบัดของเสียอย่างถูกต้องและปลอดภัย และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายการจัดการของเสียและสิ่งแวดล้อมในโรงงาน อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะเน้นการการจัดการของเสียประเภทสารทำละลายใช้แล้ว กรณีที่ทางโรงงานมีความประสงค์จะจัดการเองโดยการติดตั้งเครื่องรีไซเคิลสารทำละลาย   ก่อนอื่นมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ดังนี้ พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) กฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2556) พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 การจัดการของเสียเองภายในโรงงานตามกฎหมายไทยบ้านเรา ซึ่งมี 3 ประเภทดังนี้ การฝังกลบ การเผา การจัดการโดยวิธีอื่นๆ เช่น การทำปุ๋ย การถมที่ การนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก การติดตั้งเครื่องรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้วภายในโรงงานจึงเข้าข่ายประเภทที่สาม การจัดการโดยการนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก ซึ่งทางโรงงานจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากกรอ. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กรณีใช้เองภายในโรงงาน  แต่ถ้าไม่ได้ใช้เองภายในโรงงานจะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ กรณีนี้ทางโรงงานต้องขอเพิ่มประเภทโรงงาน 106 การขอความเห็นชอบ ยื่นหนังสือขอความเห็นชอบที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ไม่มีแบบฟอร์มตามกฎหมาย) แล้วระบุรายละเอียดดังนี้ โรงงานประกอบกิจการ ทะเบียนโรงงาน ต้องการทำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอะไร (สารทำละลายใช้แล้วตัวไหน) ปริมาณเท่าไหร่ วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ อัตราส่วนของผสม หนังสือรับรองผลวิเคราะห์ (กรณีทำปุ๋ย) แล้วพบกันใหม่ครับ ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (www.diw.go.th)