Solvent 101 – TH version

สารทำละลาย หรือตัวทำละลาย สารทำละลายตัวพื้นฐานที่สุดและใกล้ตัวพวกเรามากที่สุดก็คือ น้ำ เราใช้น้ำทำละลายกาแฟผงทรีอินวัน  เราเอาน้ำมาละลายน้ำตาลเพื่อทำเป็นน้ำเชื่อม สารทำละลายตัวอื่นๆ ก็มีหน้าที่หลักในการละลาย “ตัวถูกละลาย” เพื่อนำไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ  และเพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางอย่างให้กับตัวสารละลายเอง และผลิตภัณฑ์สุดท้าย   ถึงตอนนี้มีคำเพิ่มขึ้นมาอีกคำคือ “สารละลาย”  นั่นก็คือเป็นคำเรียกผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสารทำละลายได้ละลายสารถูกละลายแล้วได้สารละลาย (Solution = Solvent + Solute)

ในอุตสาหกรรมเราใช้สารทำละลายที่มีองค์ประกอบทางเคมีมากกว่าแค่ H2O  ซึ่งหลักๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1)  สารทำละลายไฮโดรคาร์บอน : ชื่อก็บอกว่าต้องมีคาร์บอนกับโฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ  แต่ละการสร้างพันธะระหว่างอะตอม H และอะตอม C ก็เลยทำให้แบ่งชนิดเรียก ได้อีก 3 แบบ

1.1 อะลิฟาติก (Aliphatic)  คืออะตอมของ C สร้างพันธะในรูปแบบโซ่ตรง  โซ่กิ่ง  หรือไม่เป็นวงอะโรมาติก ถ้าสร้างพันธะเดี่ยวเรียก แอลเคน พันธะคู่เรียก แอลคีน พันธะสามเรียก แอลไคน์

1.2 อะโรมาติก (Aromatic) คือสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีวงแหวนเบนซีนเป็นองค์ประกอบ

1.3 พาราฟฟินิก (Paraffinic)  คือส่วนผสมของเหลวหลักที่เป็นแอลเคนไฮโดรคาร์บอน

2)  สารทำละลาย Oxygenated : ผลิตจากปฏิกิริยาเคมีของสารโอเลฟินส์ ได้แก่ แอลกอฮอลล์ คีโตน เอสเทอร์ อีเทอร์ ไกลคอลอีเทอร์ ไกลคอลอีเทอร์เอสเทอร์

3)  สารทำละลาย Halogenated : คือสารทำละลายที่มีองค์ประกอบฮาโลเจน เช่น คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน

สารทำละลายที่โรงงานคุณอยู่ในประเภทไหนกันบ้างครับ

แล้วพบกันใหม่ บล็อกหน้าครับ

ขอขอบคุณ ข้อมูลจากเว็บ  Chemical Safety Facts