Fundamental of Mixing – TH version

การผสม เป็นการนำสารหรือองค์ประกอบตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมให้เป็นของผสมที่มีการกระจายตัวของสารองค์ประกอบหนึ่งอยู่ในสารอีกองค์ประกอบหนึ่ง ให้มีลักษณะเป็นเป็นสารผสมเนื้อเดียวกัน การผสมเป็นกระบวนการผลิตหนึ่งที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การแปรรูปอาหาร การผลิตยาและเวชภัณฑ์  การทำเหมืองแร่ การขึ้นรูปโลหะผง (powder metallurgy) กระบวนการผลิตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี  ในอุตสาหกรรมอาหาร การผสมเป็นการรวมส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและคุณลักษณะรสสัมผัสที่ต้องการ ระหว่างขั้นตอนการผสมอาจมีอุปกรณ์การลดขนาดและการขับรีดสารผสม (extruder) ร่วมอยู่ด้วย ตัวอย่าง : การพัฒนาเนื้อสัมผัสของเบเกอรี่และไอศครีม การควบคุมการเกิดผลึกของน้ำตาล  การตีฟองของส่วนผสมของแป้ง นม ไข่ ในการทำเค้กหรือแพนเค้ก  การทำช็อคโกแลต การผสมของแข็ง การผสมของแข็งให้ได้คุณลักษณะสารผสมที่ต้องการขึ้นอยู่กับ ขนาดอนุภาคที่สัมพันธ์กัน รูปร่าง และ ความหนาแน่นของแต่ละสารที่นำมาผสมกัน ปริมาณความชื้น คุณลักษณะพื้นผิวและการไหลของของแข็งแต่ละตัว แนวโน้มของสารที่จะรวมตัวกันเป็นก้อน ประสิทธิภาพของเครื่องผสม ปัจจัยที่มีผลต่อการผสมของแข็ง ขนาดอนุภาค : การผสมง่ายขึ้นเมื่ออนุภาคของแต่ละสารมีขนาดใกล้เคียงกัน รูปร่าง : รูปร่างทรงกลมผสมกันได้ง่ายกว่ารูปร่างอื่นๆ…

Read MoreFundamental of Mixing – TH version
A Guide to Extend the Shelf Life of Your Makeup Products

How to know Cosmetic Products are expiring – TH version

ปกติเวลาของที่อยู่ในตู้เย็น ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้สด อาหารสำเร็จรูป หรือ เครื่องดื่มนม โยเกิร์ต นอกเหนือจากการดูวันหมดอายุที่ฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ การสังเกตรูป (ใบผักหรือผิวผลไม้เริ่มแห้งเหี่ยว) ลักษณะภายนอก (การแยกชั้นของน้ำมันกับน้ำในอาหารกล่องหรืออาหารปรุงสำเร็จ) และกลิ่น (กลิ่นหืนจากน้ำมันในอาหาร กลิ่นเปรี้ยวในนม) ก็เป็นสัญญาณบอกว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ หมดอายุแล้ว ควรทิ้งไป  สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว บำรุงเส้นผม ถ้าอายุการเก็บในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิทมากกว่า 30 เดือน อายุการใช้งานหลังเปิดฝา มักระบุเป็นจำนวนเดือนที่ใช้งานได้ เช่น 6 M (6 เดือน), 12 M (12 เดือน)  แต่ถ้าอายุการเก็บในบรรจุภัณฑ์น้อยกว่า 30 เดือน มักระบุเป็นวันเดือนปีที่หมดอายุหลังสัญลักษณ์รูปนาฬิกาทราย หรือ BBE หรือ Exp การใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางโดยเฉพาะพวกผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือเครื่องสำอางบริเวณรอบๆ ดวงตา…

Read MoreHow to know Cosmetic Products are expiring – TH version
Dispersion in paint

Dispersion Stability for Coatings Applications – TH version

ความคงสภาพของการกระจายตัวในสี หมึก สารเคลือบพื้นผิว – การพิจารณาผลกระทบของสารโพลิเมอร์พีวีพี (PVP-Polyvinylpyrrolidone) ต่อการตกตะกอนของสารแขวนลอยที่มีแป้งดินขาวเป็นองค์ประกอบหลัก การเตรียมสารแขวนลอยในอุตสาหกรรมสี ยา และอื่นๆ เพื่อให้มีความคงสภาพของสารแขวนลอยที่กระจายตัวอยู่ในวัฏภาคของเหลว มีข้อจำกัดและความยากลำบากพอสมควร เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยค่อนข้างจำกัด  สีผงและคุณสมบัติของมันมีบทบาทสำคัญต่อความคงสภาพของผลิตภัณฑ์สี ผงสีต้องถูกตีผสมเพื่อทำให้มีการกระจายตัวที่ดี ไม่เช่นนั้นจะเกิดการรวมเป็นก้อนเม็ดสีและทำให้คุณภาพสีลดลง มีหลายวิธีในการวิเคราะห์คุณลักษณะอนุภาค แต่ในบทความนี้จะเน้นเฉพาะการวิเคราะห์การแยกชั้นของสารแขวนลอยโดยวิธีใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ความสำคัญของแร่ดินชนิดดินขาว และความคงสภาพการแขวนลอย แป้งดินขาวถูกใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น กระดาษ สี เซรามิก พลาสติก ยา วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น สาเหตุหลักในการเกิดการรวมตัวของอนุภาคคือประจุไฟฟ้าบนอนุภาค การควบคุมประจุไฟฟ้าสามารถกระทำโดยการปรับวัฏภาคของเหลว การเปลี่ยนค่า pH หรือการปรับเปลี่ยนค่าความแข็งแรงของอิออน (ประจุไฟฟ้าบวกและลบ) อีกวิธีหนึ่งคือผสมสารโพลีเมอร์เช่น พีวีพี หรือโพลีไวนิลเพอโรลิดันซึ่งจะไปดูดซึมบนพื้นผิวอนุภาคและเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติที่มีผลต่อความคงสภาพ ในตัวอย่างการทดลองนี้ใช้สารพีวีพียี่ห้อลูวิเทค จาก BASF ที่มีมวลโมเลกุลต่างๆ สำหรับเป็นตัวทำให้คงสภาพในการกระจายตัวของแป้งดินขาว ปกติความคงสภาพของสารแขวนลอยเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของโพลีเมอร์ที่พอเหมาะผสมอยู่ การวิเคราะห์ความคงสภาพนี้ใช้เครื่องวิเคราะห์ที่ใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางหมุนหลอดตัวอย่างทดสอบ…

Read MoreDispersion Stability for Coatings Applications – TH version
mayonnaise

Basic of Food Emulsions – TH version

โดยทั่วไป ของเหลวอิมัลชัน เป็นโครงสร้างที่เกิดจากการกระจายตัวของของเหลวที่ไม่สามารถผสมเป็นเนื้อเดียวกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป เช่น น้ำกับน้ำมัน โดยของเหลวชนิดหนึ่งแตกตัวเป็นหยดเล็กๆ เรียกว่า ส่วนที่กระจายตัวหรือวัฏภาคภายใน (Internal or Dispersed Phase) ซึ่งกระจายตัวแทรกอยู่ในของเหลวอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ส่วนที่ต่อเนื่องหรือวัฏภาคภายนอก (External or Continuous Phase) วัตถุประสงค์หลักของการผลิตหรือการคิดสูตรส่วนผสมผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลวหรือสารละลายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระจายตัวของสองวัฏภาค คือการทำให้เกิดความคงสภาพหรือมีอายุการเก็บรักษาให้ได้นานที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอิมัลชันหรือ สารแขวนลอย สารแขวนลอย (ของแข็ง/ของเหลว) และอิมัลชัน (ของเหลว/ของเหลว) เป็นตัวอย่างของการกระจายตัวของสองวัฏภาค สารทำละลายเป็นวัฏภาคต่อเนื่อง ในขณะที่ อนุภาคของแข็ง หรือหยดของเหลวอิมัลชัน เป็นวัฏภาคการกระจายตัว การพิจารณาความคงตัวหรือคงสภาพของการกระจายตัวคือการที่วัฏภาคการกระจายตัวสามารถรักษาความคงที่ของขนาดอนุภาค และการแขวนลอย เมื่อระยะเวลาผ่านไป  ความไม่คงสภาพของของเหลวอิมัลชัน สังเกตจากเมื่อเวลาผ่านไปอนุภาคในวัฏภาคกระจายตัวเกิดการเกาะรวมตัวเป็นกลุ่มอนุภาคก้อนใหญ่ หรือหลอมรวมตัวกัน แล้วลอยตัวสู่ผิวด้านบนเป็น ครีมมิ่ง และเกิดการแยกชั้นของของเหลว  ความไม่คงสภาพของสารแขวนลอยมีลักษณะใกล้เคียงกับของเหลวอิมัลชันในรูปแบบการเกาะกลุ่มของอนุภาค หรือหลอมรวมกลุ่มของอนุภาคแล้วตกตะกอนสู่พื้นผิวด้านล่างเกิดการแยกชั้นของสองวัฏภาค ตัวอย่างอาหารที่เป็นอิมัลชัน…

Read MoreBasic of Food Emulsions – TH version