FOR PAINT & COATING

Paint-and-Coatings

แนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ…ตอนที่ 1

 ไนโตรเซลลูโลสเป็นสารสังเคราะห์ทางปฏิกิริยาเคมีระหว่างเซลลูโลสกับกรดไนเตรทติ้ง (ของผสมระหว่างกรดไนตริกและกรดซัลฟุริก) อยู่ในรูปของแข็งสีขาว เป็นเม็ดหรือผง มีกลิ่นแอลกอฮอลล์ (เวตติ้งเอเจนท์)สำหรับไนโตรเซลลูโลสแบบเปียก  ถ้าเป็นไนโตรเซลลูโลสแบบแห้งจะเป็นลักษณะเกล็ดของแข็ง ซึ่งไนโตรเซลลูโลสแบบแห้งนี้เป็นสารที่ลุกติดไฟได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการเติมสารให้ความชื้น (damping agent หรือ wetting agent) พวกแอลกอฮอลล์หรือน้ำ ลงไปเพื่อลดคุณสมบัติติดไฟง่ายลง ไนโตรเซลลูโลสละลายได้ในสารทำละลายอินทรีย์ ด้วยสายโซ่โมเลกุลที่แข็งแรงจึงสามารถก่อตัวเป็นแผ่นฟิล์มยืดหยุ่นที่แข็งแรง เนื่องจากไนโตรเซลลูโลสมีความแข็งแรงในการยืดสูง และมีคุณสมบัติแห้งเร็ว จึงถูกใช้เป็นสารแล็คเกอร์สำหรับงานไม้  กระดาษ หมึกพิมพ์ สารเคลือบผิวเพื่อการป้องกัน แล็คเกอร์สำหรับอากาศยาน และอื่นๆ อันตรายหรือความเสี่ยงของการใช้งานสารที่มีไนโตรเซลลูโลส หรือเซลลูโลสไนเตรดเป็นองค์ประกอบ สารไนโตรเซลลูโลสสามารถย่อยสลายตัวเองแบบรุนแรงโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนจากอากาศ แล้วผลิตแก๊สพิษไนตรัส สารไนโตรเซลลูโลสเกรดที่มีไนโตรเจนสูงเป็นองค์ประกอบ คือวัตถุระเบิดดีดีนี่เอง แต่วางใจได้ ไนโตรเซลลูโลสที่อยู่ในหมึกพิมพ์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมทั่วไป มีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนต่ำ อีกทั้งยังถูกผสมด้วยสารเติมเต็ม (additives) และ/หรือสารเชื่อมประสาน (binders) อื่นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติป็นตัวลดความไวต่อการเกิดระเบิดอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม การรีไซเคิลสารทำละลายที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ มีข้อพึงระวังดังนี้ การเกิดปฏิกิริยา exothermic ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนและควัน หรือการจุดติดไฟด้วยตัวเอง ควรหลีกเลี่ยงสารดังต่อไปนี้ ในการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ อลูมิเนียม ทองแดง หรือ ทองเหลือง กรด หรือ เรซินที่มีองค์ประกอบสารที่เป็นกรด อะมีนส์/อะมิโนแอลกอฮอลล์ (amines/aminoalcohols) หรือ อะมิโนเรซิน ออกซิไดซิ่งเอเจนท์ อื่น ๆ การเกิดเปลวไฟ หรือจุดติดไฟด้วยตัวเอง เมื่อมีความเข้มข้นสูง และแห้งตัว การจุดติดไฟด้วยตัวเองที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 อาศาเซลเซียส ยังไม่จบครับ ขอแบ่งเนื้อหาเป็นสองตอน จะได้ไม่ง่วง แล้วพบกันใหม่ตอนที่ 2 ครับ

solvent2

Solvents in Industries – TH version

สารทำละลาย เป็นสารเคมีที่ใช้อย่างกว้างขวางเพื่อทำละลายหรือทำให้เจือจางกับสารอื่น ปกติสารทำละลายเป็นของเหลวอินทรีย์  สารทำละลายหลายตัวถูกใช้เป็นสารเคมีทำปฏิกิริยาระหว่างกระบวนการ (chemical intermediates)  ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิง  และถูกใช้เป็นองค์ประกอบหลายๆ ตัวของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตัวอย่างสารทำละลายที่ใช้กันทั่วไป อะซีโตน (acetone) – การใช้งาน : ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมี  ผลิตยา  ผลิตสี หมึกพิมพ์ กาว แลคเกอร์ เครื่องสำอาง และ พลาสติก ไดคลอโรมีเทน (dichloromethane) – การใช้งาน : ใช้ล้างสีออกจากภาพวาด   ใช้เป็นสารสกัดคาเฟอีนจากกาแฟ  ใช้ผลิตสารปรุงแต่งกลิ่นหรือรส เฮกเซน (hexane) – การใช้งาน :  ใช้ผสมสี กาว ในงานเฟอนิเจอร์  ใช้ในงานพ่นสี ทาสี โทลูอีน (toluene) – การใช้งาน : ใช้เป็นตัวทำละลายสี หมึกพิมพ์ กาว   ใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์สารอื่น เช่น ทำโฟมยูรีเทน  สังเคราะห์สีย้อม  ผลิตภัณฑ์ยา  และ เครื่องสำอาง เมทานอล (methanol) – การใช้งาน : เช็ดล้างพลาสติก  ใช้เป็นส่วนผสมทำกาวสำหรับไม้อัด  ใช้เป็นส่วนผสมไบโอดีเซล  ใช้เป็น anti-freeze ในหม้อน้ำรถยนต์ เมทิล เอทิล คีโตน (methyl ethyl ketone) – การใช้งาน : ใช้เป็นตัวทำละลายในกาว หมึกพิมพ์ ไซลีน (xylene) – การใช้งาน : ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตทินเนอร์ แลคเกอร์ สี หมึกพิมพ์ กาว เรซิน ยาง น้ำยาทำความสะอาด   ใช้ฟอกสีในอุตสาหกรรมกระดาษ  ใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิง ไวท์สปิริต (white spirit) – การใช้งาน : ใช้เป็นทินเนอร์ผสมในสีทาบ้าน แลคเกอร์ และ น้ำมันวานิช   ใช้ล้างคราบมัน (degreasing)  ในการทำความสะอาดเครื่องจักรหรือทำความสะอาดชิ้นงานโลหะ   ใช้ผสมกับน้ำมันตัด (cutting oil) เพื่อเป็นสารหล่อเย็นในงานตัดเจาะโลหะ   ใช้เป็นสารในน้ำยาซักแห้ง   ใช้ผสมสีน้ำมันเพื่อวาดภาพงานศิลปะ  ใช้ผสมกับยางมะตอยเพื่อลดความข้นเหนียว สารทำละลายเข้าสู่ร่างกายเรา และทำให้เราป่วย ไม่สบาย หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้อย่างไร การสูดหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสทางตาหรือกระเด็นเข้าตา เข้าทางระบบการย่อยอาหาร หรือทางปาก มักมาจากการปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำดื่ม บุหรี่ ผลกระทบต่อสุขภาพ การระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา และ ปอด ปวดศีรษะ มึนงง หนักหัว อาเจียน หมดสติ ขาดสติ  ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง การสัมผัส หรือรับสารปริมาณมาก และ เป็นเวลานาน ทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิต การรับสารปริมาณน้อยๆ แต่เป็นเวลานาน จะมีการสะสมในร่างกาย ทำให้มีผลทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ตับ ไต กระแสเลือด รวมถึงก่อให้เกิดมะเร็ง การป้องกัน ถ้าสามารถเปลี่ยนสารทำละลายจาก oil based เป็น water based ได้…

ASC-150withDemisterSampleInstallation

How important to own Solvent Recycling System in your factory – TH version

สวัสดีครับ วันนี้หัวข้อเรื่องการมีเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์ใช้เองที่โรงงานจำเป็นหรือไม่ คงเป็นคำถามที่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเคยมี  ประโยชน์ของการมีเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์มีมากมาย แต่มันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าโรงงานของท่านผู้ประกอบการมีลักษณะดังที่ผมจะให้ข้อมูลต่อไปนี้ สารทำละลายใช้แล้ว จัดว่าเป็นของเสียอันตราย แต่มีสารทำละลายใช้แล้วหลายตัวสามารถนำมาผ่านกระบวนการกลั่นด้วยเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์แล้วได้สารทำละลายที่บริสุทธ์สะอาดกลับมาใช้ได้อีก อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ผู้ประกอบการจะตัดสินใจลงทุนซื้อเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์  ขอให้พิจารณาวิธีการหรือขั้นตอนการบำบัดอื่นๆ ด้วย เช่น การแยกสารละลายชั้นบนไปอีกภาชนะหนึ่ง ออกจากตะกอนของแข็งด้านล่าง การกรองแบบง่ายๆ การปั่นให้ตกตะกอน แต่สำหรับสารทำละลายที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวถูกละลาย  การกลั่นด้วยเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์คือคำตอบครับ อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์จะเหมาะกับทุกโรงงานที่ต้องการนำโซลเว้นท์ปนเปื้อนไปผ่านการกลั่นจากเครื่องฯ แล้วนำกลับมาใช้อีก  มีคำถาม 4 คำถามต่อไปนี้ ที่อยากให้ท่านผู้ประกอบการตรวจสอบดู ก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์ 1.โซลเว้นท์สะอาดที่ถูกกลั่นออกมาจากเครื่องฯ สามารถนำกลับมาใช้กับกระบวนการผลิตหรือการใช้งานปกติของโรงงานได้หรือไม่ ในหลายกรณี  ของผสมสารทำละลายใช้สำหรับการทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ และใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการผลิต เช่น สี หมึกพิมพ์ การผลิตสูตรกาว  ถ้าสารผสมของโซลเว้นท์มีจุดเดือดแตกต่างกันมากๆ การกลั่นเพื่อให้ได้มาสารทำละลายสะอาดบริสุทธ์ อาจมีคุณสมบัติแตกต่างจากสารทำละลายผสมดั้งเดิม  ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับการนำกลับไปใช้งานตั้งต้น 2.ถ้าสารทำละลายสะอาดที่ได้จากการกลั่น ไม่สามารถนำกลับมาใช้กับการใช้งานตั้งต้น พอจะมีกระบวนการผลิตอื่น หรือ การใช้งานอื่นๆ ที่สารทำละลายนี้ นำไปใช้งานได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือมี  เครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์ก็เป็นเครื่องที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ 3.สารทำละลายปนเปื้อนที่แตกต่างกัน ควรถูกจัดเก็บแยกกัน การนำโซลเว้นท์ใช้แล้วที่ต่างชนิดกันมาผสมอยู่ในถังเก็บเดียวกัน แล้วนำมากลั่นด้วยเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์  สารทำละลายผสมสะอาดที่ได้  อาจไม่สามารถนำกลับมาใช้กับการใช้งานตั้งต้น 4.มีเทคโนโลยีการแยกอื่นๆ ที่เหมาะสมกว่าไหม การกลั่นเหมาะสำหรับการแยกของเหลวที่ใกล้เคียงกัน  ถ้าสารทำละลายใช้แล้วมีของแข็งเป็นองค์ประกอบหลัก ควรแยกกรองเอาของแข็งออกจากสารทำละลายโดยการกรอง ถ้าสารทำละลายใช้แล้วมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีขนาดโมเลกุลแตกต่างกันมากๆ เช่น สารทำละลายที่มีโพลีเมอร์หรือเรซินเป็นองค์ประกอบอยู่  การกรองด้วยเมมเบรนก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ขอบคุณครับ แล้วพบกันใหม่บล็อคหน้า admin – 29.06.2018