แนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ…ตอนที่ 1

 ไนโตรเซลลูโลสเป็นสารสังเคราะห์ทางปฏิกิริยาเคมีระหว่างเซลลูโลสกับกรดไนเตรทติ้ง (ของผสมระหว่างกรดไนตริกและกรดซัลฟุริก) อยู่ในรูปของแข็งสีขาว เป็นเม็ดหรือผง มีกลิ่นแอลกอฮอลล์ (เวตติ้งเอเจนท์)สำหรับไนโตรเซลลูโลสแบบเปียก  ถ้าเป็นไนโตรเซลลูโลสแบบแห้งจะเป็นลักษณะเกล็ดของแข็ง ซึ่งไนโตรเซลลูโลสแบบแห้งนี้เป็นสารที่ลุกติดไฟได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการเติมสารให้ความชื้น (damping agent หรือ wetting agent) พวกแอลกอฮอลล์หรือน้ำ ลงไปเพื่อลดคุณสมบัติติดไฟง่ายลง ไนโตรเซลลูโลสละลายได้ในสารทำละลายอินทรีย์ ด้วยสายโซ่โมเลกุลที่แข็งแรงจึงสามารถก่อตัวเป็นแผ่นฟิล์มยืดหยุ่นที่แข็งแรง

เนื่องจากไนโตรเซลลูโลสมีความแข็งแรงในการยืดสูง และมีคุณสมบัติแห้งเร็ว จึงถูกใช้เป็นสารแล็คเกอร์สำหรับงานไม้  กระดาษ หมึกพิมพ์ สารเคลือบผิวเพื่อการป้องกัน แล็คเกอร์สำหรับอากาศยาน และอื่นๆ

อันตรายหรือความเสี่ยงของการใช้งานสารที่มีไนโตรเซลลูโลส หรือเซลลูโลสไนเตรดเป็นองค์ประกอบ

  • สารไนโตรเซลลูโลสสามารถย่อยสลายตัวเองแบบรุนแรงโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนจากอากาศ แล้วผลิตแก๊สพิษไนตรัส
  • สารไนโตรเซลลูโลสเกรดที่มีไนโตรเจนสูงเป็นองค์ประกอบ คือวัตถุระเบิดดีดีนี่เอง แต่วางใจได้ ไนโตรเซลลูโลสที่อยู่ในหมึกพิมพ์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมทั่วไป มีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนต่ำ อีกทั้งยังถูกผสมด้วยสารเติมเต็ม (additives) และ/หรือสารเชื่อมประสาน (binders) อื่นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติป็นตัวลดความไวต่อการเกิดระเบิดอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม การรีไซเคิลสารทำละลายที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ มีข้อพึงระวังดังนี้

  • การเกิดปฏิกิริยา exothermic ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนและควัน หรือการจุดติดไฟด้วยตัวเอง ควรหลีกเลี่ยงสารดังต่อไปนี้ ในการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ
    • อลูมิเนียม
    • ทองแดง หรือ ทองเหลือง
    • กรด หรือ เรซินที่มีองค์ประกอบสารที่เป็นกรด
    • อะมีนส์/อะมิโนแอลกอฮอลล์ (amines/aminoalcohols) หรือ อะมิโนเรซิน
    • ออกซิไดซิ่งเอเจนท์
    • อื่น ๆ
  • การเกิดเปลวไฟ หรือจุดติดไฟด้วยตัวเอง เมื่อมีความเข้มข้นสูง และแห้งตัว
  • การจุดติดไฟด้วยตัวเองที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 อาศาเซลเซียส

ยังไม่จบครับ ขอแบ่งเนื้อหาเป็นสองตอน จะได้ไม่ง่วง แล้วพบกันใหม่ตอนที่ 2 ครับ