FOR PAINT & COATING

LUMiFrac

Adhesion Testing by CAT Technology

(CAT stands for Centrifugal Adhesion Testing) In many areas of application e.g. adhesive bonding and coatings in automotive, electronics, optics, composite materials (bonding, layering, and coatings), it is essential for analyzing bonding strength for people like design engineers, R&D, and quality control. The bonding strength is commonly tested by tensile strength. A traditional instrument can handle only one sample. To achieve reproducibility, the instrument requires lots of work such as clamping aids, alignment construction. Moreover, if wanted to perform a series of experiments, it is super time-consuming! The new standard of adhesion testing applies CAT technology by LUM GmbH from Berlin, Germany. The instrument, named LUMiFrac accomplishes the CAT technology by directly applying an incremental increasing redial centrifugal force to the specimen being tested. Tensile testing according to DIN EN 15870 LUMiFrac Testing Unit Stations Testing Setup of a 90 degree Peel Test according to ISO 8510-1:1990 Principal: In the centrifuge unit, the radial directed centrifugal force provides the tensile…

soybean-processing

Soybean Paints A Future Coating Comes

The topic may not be a latest one for people who really are  in the paint and coating industry. We have been familiar with water-based paints which are more frequent used nowadays because its dominant environmental friendly benefit. Nevertheless, the bio-based coatings have been commercially presence in the market for a couple of years, already. Interestingly, the bio-based coatings are much more benefits. For example, increased water and chemical resistance, durable film hardness and impact resistance, reducing amounts of volatile organic compound (VOCs). Furthermore, soybean oil is under evaluation of a reactive diluent application. An example use is the replacement of paraffin wax in coating fruit and vegetable packaging boxes in food industries. More development to come. there are projects that cooperate between the dedicated soybean association and the coating manufacturers in the U.S., i.e. – Use soybean oil to produce low temperature powder coatings for substrates that aretemperature sensitive.– Use a soy-based alkyd technology platform to create a low…

nitrocellulose flame

ตอนที่ 2 – แนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

การทำงาน หรือการจัดการแบบปลอดภัย กับการรีไซเคิ้ลสารทำละลายใช้แล้วที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ การเก็บรวบรวมสารทำละลายใช้แล้ว ปฏิกิริยา exothermic  อาจเกิดขึ้นเมื่อหมึกพิมพ์ไนโตรเซลลูโลสสัมผัสกับหมึกชนิดอื่นๆ หรือโรงพิมพ์ที่มีสารเคมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ ที่มีโอกาสทำปฏิกิริยากับเซลลูโลสไนเตรท หมึกที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายพื้นฐาน และมีแอมโมเนีย หรือ อะมิโนแอลกอฮอลล์เป็นองค์ประกอบ หมึกยูวี และมีน้ำมันวานิชที่มีสารประกอบอะมิโน หมึกทำละลายปราศจากไนโตรเซลลูโลสที่มีสารเติมเต็มอัลคาไลน์ สารเคมีกรด สารเคมีเบส (อัลคาไลน์) หรือ สารประกอบโลหะเข้มข้น คำแนะนำการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย แยกเก็บบรรจุในภาชนะที่ใช้ได้กับแต่ละสารอย่างปลอดภัย ในที่ที่ปลอดภัยและห่างจากพื้นที่ฝ่ายผลิต ตรวจสอบคุณสมบัติกากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่น คัดแยก เก็บรวบรวม และกำจัดอย่างถูกต้องและอยู่ในการควบคุม ปรึกษาผู้ผลิตหมึก ขอคำแนะนำ ถึงความเสี่ยงในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และมาตรการการป้องกันความเสี่ยง การแห้งตัวของไนโตรเซลลูโลส ความเสี่ยง : การแห้งตัว หรือเกือบแห้งของสารไนโตรเซลลูโลสที่หลงเหลืออยู่จากถังกลั่น (เครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์) หรือแม้กระทั่งปริมาณสารที่หกหรือเกาะเป็นชั้นตามพื้น ผนัง อุปกรณ์ที่สัมผัสกับสาร  อาจทำให้เกิดเปลวไฟ หรือการจุดติดไฟด้วยตัวเอง คำแนะนำการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย หมั่นทำความสะอาดคราบสารที่หก กระเด็น บนพื้น ผนัง ท่อหรือร่องระบาย หรือ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สัมผัสกับไนโตรเซลลูโลส  ด้วยน้ำยาทำความสะอาด ห้ามขูดกระเทาะชั้นที่แห้งเกาะกับพื้นผิว ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ ให้ใช้เครื่องมือที่ทำจากโลหะทองเหลือง หรือ สแตนเลสสตีลและใช้น้ำฉีดหล่อเลี้ยงขณะขูด อย่าปล่อยคราบของเหลวไนโตรเซลลูโลสหลงเหลือติดตามก้นถังเก็บจนแห้ง ปิดฝาถังเก็บให้สนิทและปลอดภัย ห้ามทิ้งผลิตภัณฑ์ หมึก หรือ ของเหลวที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ ลงในถังขยะทั่วไป ทิ้งลงในถังเก็บที่ปลอดภัยแยกต่างหาก และมีฝาปิด การกลั่น (การรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้วที่มีไนโตรเซลลูโลส) โรงงานที่มีเครื่องรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้ว และ กากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่นหรือเครื่องรีไซเคิลสารทำละลายทั้งการทำงานแบบแบทช์และแบบต่อเนื่อง ต้องพิจารณาและปรึกษากับผู้ผลิตเครื่องถึงการรีไซเคิลสารทำละลายไนโตรเซลลูโลส แต่แรกเริ่ม เพื่อให้ผู้ผลิต ออกแบบ หรือติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม และเดินเครื่องได้อย่างปลอดภัย อุปกรณ์ ; สวิทช์ตัดการทำงาน เซ็นเซอร์อุณหภูมิ และ ไฟเตือนหรือเสียงเตือน ติดตั้งในส่วนต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการจุดติดไฟด้วยตัวเอง เช่น บริเวณสลัดจ์จากการกลั่น ทางเข้าคอนเดนเซอร์  เป็นต้น กระจกมองการทำงานในถังกลั่น แสงไฟส่องภายในถังกลั่น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบด้วยตา  สังเกตว่ามีสิ่งผิดปกติระหว่างเดินเครื่องหรือหลังเดินเครื่องเสร็จ หรือไม่ อุปกรณ์หรือการทำงานแบบลดอุณหภูมิแบบฉุกเฉิน กรณีถังกลั่นมีอุณหภูมิสูงเกินจุดเสี่ยง ถังกลั่นควรต้องมีอุปกรณ์กวนหมุนของเหลวภายใน และอุปกรณ์ใบกวนหมุน หรือใบกวาดต้องเป็นวัสดุไม่ก่อให้เกิดการสปาร์คไฟ การปฏิบัติงานกับเครื่องกลั่น/เครื่องรีไซเคิล ; พึงระลึกเสมอว่าหมึกที่แห้งมีคุณสมบัติเหมือน ไนโตรเซลลูโลส ซึ่งสามารถย่อยสลายด้วยตัวเองก่อให้เกิดไอแก๊สอันตราย และมีโอกาสเกิดปฏิกิริยา exothermic เมื่อมีปัจจัยเกื้อหนุน (ดูบล็อกที่แล้วหรือตอนที่หนึ่งของหัวข้อนี้) ศึกษาคู่มือการทำงานเครื่องกลั่น รับการอบรมการใช้งานเครื่องฯ จากผู้ผลิต  รวมถึงการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของโรงงานอย่างเคร่งครัด โหลดและกลั่นสารทำละลายใช้แล้วต่างชนิดกัน แยกกันต่างหากเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยา exothermic การโหลดสารทำละลายใช้แล้วแบทช์ใหม่ลงสู่เครื่องกลั่นขณะทำงานแบบต่อเนื่อง สามารถทำได้แต่ต้องอยู่ในอัตราที่ควบคุมให้สัมพันธ์กับอัตราการถ่ายออกของสลัดจ์ หรือถ้าให้ดีกว่าปลอดภัยกว่าควรทำการกลั่นในครั้งต่อไป เมื่อกลั่นเสร็จ หรือช่วงพักเครื่อง ต้องตรวจสอบถังกลั่นและกำจัด ทำความสะอาดคราบสลัดจ์หรือแผ่นฟิล์มที่ติดเกาะภายในถัง ท่อ อุปกรณ์ ด้วยน้ำยาหรือสารทำละลายสำหรับทำความสะอาดที่เหมาะสม ถ้าต้องใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องมือในการทำความสะอาดร่วมด้วย ต้องไม่เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการสปาร์คไฟ ห้ามเติมหรือฟีดของเหลวเข้าไปในถังกลั่นขณะที่ยังมีของเหลวที่เหลือจากการกลั่นก่อนหน้า และยังมีอุณหภูมิอุ่นๆ หรือสูงอยู่ เก็บกากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่นในถังเก็บปิดสนิท และห่างจากพื้นที่การผลิต ก่อนส่งกำจัดโดยบริษัทรับกำจัดของเสียที่ได้รับใบอนุญาตที่ถูกต้องจากกรมโรงงาน จบละครับ ไว้พบกันใหม่บล็อกหน้า  โชคดีมีความสุขครับ ข้อมูลจากบทความ “Safe Use of Cellulose Nitrate Printing Inks and Related Products in Distillation Units” by EuPIA (European Printing Ink Association)