สวัสดีครับ โรงงานอุตสาหกรรมที่มีวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือสิ่งปฏิกูล มีความจำเป็นต้องบำบัด กำจัด และจัดการอย่างถูกต้องตามหลักการการบำบัดของเสียอย่างถูกต้องและปลอดภัย และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายการจัดการของเสียและสิ่งแวดล้อมในโรงงาน อย่างไรก็ตาม บทความนี้จะเน้นการการจัดการของเสียประเภทสารทำละลายใช้แล้ว กรณีที่ทางโรงงานมีความประสงค์จะจัดการเองโดยการติดตั้งเครื่องรีไซเคิลสารทำละลาย
ก่อนอื่นมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ดังนี้
- พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535
- กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535)
- กฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2556)
- พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
การจัดการของเสียเองภายในโรงงานตามกฎหมายไทยบ้านเรา ซึ่งมี 3 ประเภทดังนี้
- การฝังกลบ
- การเผา
- การจัดการโดยวิธีอื่นๆ เช่น การทำปุ๋ย การถมที่ การนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก
การติดตั้งเครื่องรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้วภายในโรงงานจึงเข้าข่ายประเภทที่สาม การจัดการโดยการนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก ซึ่งทางโรงงานจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากกรอ. (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) กรณีใช้เองภายในโรงงาน แต่ถ้าไม่ได้ใช้เองภายในโรงงานจะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ กรณีนี้ทางโรงงานต้องขอเพิ่มประเภทโรงงาน 106
การขอความเห็นชอบ
ยื่นหนังสือขอความเห็นชอบที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ไม่มีแบบฟอร์มตามกฎหมาย) แล้วระบุรายละเอียดดังนี้
- โรงงานประกอบกิจการ ทะเบียนโรงงาน
- ต้องการทำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วอะไร (สารทำละลายใช้แล้วตัวไหน) ปริมาณเท่าไหร่
- วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ อัตราส่วนของผสม
- หนังสือรับรองผลวิเคราะห์ (กรณีทำปุ๋ย)
แล้วพบกันใหม่ครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม (www.diw.go.th)