หลักการกลั่นในเครื่องรีไซเคิลสารทำละลาย

การกลั่นคืออะไร

การกลั่นคือกระบวนการทำให้ของเหลวระเหยเป็นไอ แล้วควบแน่นไอระเหยของของเหลวนั้นกลับมาเป็นของเหลว เก็บในถังเก็บ ตัวอย่างการกลั่นตามธรรมชาติ เช่น น้ำทะเลถูกความร้อนจากแสงแดดระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วสะสมและกักเก็บเป็นก้อนเมฆ ควบแน่นกลับมาเป็นฝน

ทำไมหลักการกลั่นจึงถูกใช้ในระบบการรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้ว

สารทำละลายใช้แล้วประกอบด้วยสารที่ระเหยได้ (สารทำละลาย) และสารที่ไม่ระเหย (สิ่งปนเปื้อน เช่น สี หมึก ไขมัน จารบี ใยแก้ว เป็นต้น)  สารปนเปื้อนที่ไม่ระเหยหลายตัวละลายในสารทำละลาย (ตัวอย่าง เกลือละลายในน้ำเป็นน้ำเกลือ) และไม่สามารถแยกด้วยการกรอง การกลั่นจึงเป็นวิธีที่สามารถแยกตัวถูกละลายออกจากสารทำละลายในของผสมสารละลายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างการกลั่นแบบพื้นฐานและการกลั่นลำดับส่วน

การกลั่นแบบปกติสามารถแยกสารที่ไม่ระเหยและสารที่ระเหยได้ออกจากของผสมสารละลาย แต่ถ้าสารปนเปื้อนในสารทำละลายเป็นสารที่ระเหยได้เช่นเดียวกับสารทำละลาย การกลั่นลำดับส่วนสามารถจัดการแยกของผสมแบบนี้ได้

การกลั่นลำดับส่วนมีความซับซ้อนและราคาสูง ใช้หลักการคล้ายกับการกลั่นน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม การกลั่นลำดับส่วนสามารถใช้กับการรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้วบางแอพพลิเคชั่นเท่านั้น

อะไรคือการกลั่นสภาวะสูญญากาศ

การกลั่นภายใต้สภาวะสูญญากาศ คือการกลั่นของเหลวภายใต้ความดันบรรยากาศที่ถูกทำให้ลดลง เป็นผลให้สามารถต้มของเหลวให้ระเหยที่จุดเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่าค่าปกติของของเหลวนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของเครื่องหรือระบบไม่ให้เกิดการจุดติดไฟด้วยตัวเอง หรือเกิดการระเบิด การกลั่นสภาวะสูญญากาศยังช่วยลดเวลาในการกลั่นทั้งระบบ เป็นการลดพลังงาน ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย

ขอบคุณครับ

admin – 3.05.2019