nitrocellulose flame

ตอนที่ 2 – แนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

การทำงาน หรือการจัดการแบบปลอดภัย กับการรีไซเคิ้ลสารทำละลายใช้แล้วที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ การเก็บรวบรวมสารทำละลายใช้แล้ว ปฏิกิริยา exothermic  อาจเกิดขึ้นเมื่อหมึกพิมพ์ไนโตรเซลลูโลสสัมผัสกับหมึกชนิดอื่นๆ หรือโรงพิมพ์ที่มีสารเคมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ ที่มีโอกาสทำปฏิกิริยากับเซลลูโลสไนเตรท หมึกที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายพื้นฐาน และมีแอมโมเนีย หรือ อะมิโนแอลกอฮอลล์เป็นองค์ประกอบ หมึกยูวี และมีน้ำมันวานิชที่มีสารประกอบอะมิโน หมึกทำละลายปราศจากไนโตรเซลลูโลสที่มีสารเติมเต็มอัลคาไลน์ สารเคมีกรด สารเคมีเบส (อัลคาไลน์) หรือ สารประกอบโลหะเข้มข้น คำแนะนำการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย แยกเก็บบรรจุในภาชนะที่ใช้ได้กับแต่ละสารอย่างปลอดภัย ในที่ที่ปลอดภัยและห่างจากพื้นที่ฝ่ายผลิต ตรวจสอบคุณสมบัติกากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่น คัดแยก เก็บรวบรวม และกำจัดอย่างถูกต้องและอยู่ในการควบคุม ปรึกษาผู้ผลิตหมึก ขอคำแนะนำ ถึงความเสี่ยงในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และมาตรการการป้องกันความเสี่ยง การแห้งตัวของไนโตรเซลลูโลส ความเสี่ยง : การแห้งตัว หรือเกือบแห้งของสารไนโตรเซลลูโลสที่หลงเหลืออยู่จากถังกลั่น (เครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์) หรือแม้กระทั่งปริมาณสารที่หกหรือเกาะเป็นชั้นตามพื้น ผนัง อุปกรณ์ที่สัมผัสกับสาร  อาจทำให้เกิดเปลวไฟ หรือการจุดติดไฟด้วยตัวเอง คำแนะนำการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย หมั่นทำความสะอาดคราบสารที่หก…

Read Moreตอนที่ 2 – แนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
Paint-and-Coatings

แนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ…ตอนที่ 1

 ไนโตรเซลลูโลสเป็นสารสังเคราะห์ทางปฏิกิริยาเคมีระหว่างเซลลูโลสกับกรดไนเตรทติ้ง (ของผสมระหว่างกรดไนตริกและกรดซัลฟุริก) อยู่ในรูปของแข็งสีขาว เป็นเม็ดหรือผง มีกลิ่นแอลกอฮอลล์ (เวตติ้งเอเจนท์)สำหรับไนโตรเซลลูโลสแบบเปียก  ถ้าเป็นไนโตรเซลลูโลสแบบแห้งจะเป็นลักษณะเกล็ดของแข็ง ซึ่งไนโตรเซลลูโลสแบบแห้งนี้เป็นสารที่ลุกติดไฟได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการเติมสารให้ความชื้น (damping agent หรือ wetting agent) พวกแอลกอฮอลล์หรือน้ำ ลงไปเพื่อลดคุณสมบัติติดไฟง่ายลง ไนโตรเซลลูโลสละลายได้ในสารทำละลายอินทรีย์ ด้วยสายโซ่โมเลกุลที่แข็งแรงจึงสามารถก่อตัวเป็นแผ่นฟิล์มยืดหยุ่นที่แข็งแรง เนื่องจากไนโตรเซลลูโลสมีความแข็งแรงในการยืดสูง และมีคุณสมบัติแห้งเร็ว จึงถูกใช้เป็นสารแล็คเกอร์สำหรับงานไม้  กระดาษ หมึกพิมพ์ สารเคลือบผิวเพื่อการป้องกัน แล็คเกอร์สำหรับอากาศยาน และอื่นๆ อันตรายหรือความเสี่ยงของการใช้งานสารที่มีไนโตรเซลลูโลส หรือเซลลูโลสไนเตรดเป็นองค์ประกอบ สารไนโตรเซลลูโลสสามารถย่อยสลายตัวเองแบบรุนแรงโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนจากอากาศ แล้วผลิตแก๊สพิษไนตรัส สารไนโตรเซลลูโลสเกรดที่มีไนโตรเจนสูงเป็นองค์ประกอบ คือวัตถุระเบิดดีดีนี่เอง แต่วางใจได้ ไนโตรเซลลูโลสที่อยู่ในหมึกพิมพ์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมทั่วไป มีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนต่ำ อีกทั้งยังถูกผสมด้วยสารเติมเต็ม (additives) และ/หรือสารเชื่อมประสาน (binders) อื่นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติป็นตัวลดความไวต่อการเกิดระเบิดอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม การรีไซเคิลสารทำละลายที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ…

Read Moreแนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ…ตอนที่ 1
solvent2

Solvents in Industries – TH version

สารทำละลาย เป็นสารเคมีที่ใช้อย่างกว้างขวางเพื่อทำละลายหรือทำให้เจือจางกับสารอื่น ปกติสารทำละลายเป็นของเหลวอินทรีย์  สารทำละลายหลายตัวถูกใช้เป็นสารเคมีทำปฏิกิริยาระหว่างกระบวนการ (chemical intermediates)  ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิง  และถูกใช้เป็นองค์ประกอบหลายๆ ตัวของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตัวอย่างสารทำละลายที่ใช้กันทั่วไป อะซีโตน (acetone) – การใช้งาน : ใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมี  ผลิตยา  ผลิตสี หมึกพิมพ์ กาว แลคเกอร์ เครื่องสำอาง และ พลาสติก ไดคลอโรมีเทน (dichloromethane) – การใช้งาน : ใช้ล้างสีออกจากภาพวาด   ใช้เป็นสารสกัดคาเฟอีนจากกาแฟ  ใช้ผลิตสารปรุงแต่งกลิ่นหรือรส เฮกเซน (hexane) – การใช้งาน :  ใช้ผสมสี กาว ในงานเฟอนิเจอร์  ใช้ในงานพ่นสี ทาสี โทลูอีน (toluene) –…

Read MoreSolvents in Industries – TH version