nitrocellulose

nitrocellulose flame

ตอนที่ 2 – แนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

การทำงาน หรือการจัดการแบบปลอดภัย กับการรีไซเคิ้ลสารทำละลายใช้แล้วที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ การเก็บรวบรวมสารทำละลายใช้แล้ว ปฏิกิริยา exothermic  อาจเกิดขึ้นเมื่อหมึกพิมพ์ไนโตรเซลลูโลสสัมผัสกับหมึกชนิดอื่นๆ หรือโรงพิมพ์ที่มีสารเคมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ ที่มีโอกาสทำปฏิกิริยากับเซลลูโลสไนเตรท หมึกที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายพื้นฐาน และมีแอมโมเนีย หรือ อะมิโนแอลกอฮอลล์เป็นองค์ประกอบ หมึกยูวี และมีน้ำมันวานิชที่มีสารประกอบอะมิโน หมึกทำละลายปราศจากไนโตรเซลลูโลสที่มีสารเติมเต็มอัลคาไลน์ สารเคมีกรด สารเคมีเบส (อัลคาไลน์) หรือ สารประกอบโลหะเข้มข้น คำแนะนำการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย แยกเก็บบรรจุในภาชนะที่ใช้ได้กับแต่ละสารอย่างปลอดภัย ในที่ที่ปลอดภัยและห่างจากพื้นที่ฝ่ายผลิต ตรวจสอบคุณสมบัติกากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่น คัดแยก เก็บรวบรวม และกำจัดอย่างถูกต้องและอยู่ในการควบคุม ปรึกษาผู้ผลิตหมึก ขอคำแนะนำ ถึงความเสี่ยงในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และมาตรการการป้องกันความเสี่ยง การแห้งตัวของไนโตรเซลลูโลส ความเสี่ยง : การแห้งตัว หรือเกือบแห้งของสารไนโตรเซลลูโลสที่หลงเหลืออยู่จากถังกลั่น (เครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์) หรือแม้กระทั่งปริมาณสารที่หกหรือเกาะเป็นชั้นตามพื้น ผนัง อุปกรณ์ที่สัมผัสกับสาร  อาจทำให้เกิดเปลวไฟ หรือการจุดติดไฟด้วยตัวเอง คำแนะนำการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย หมั่นทำความสะอาดคราบสารที่หก กระเด็น บนพื้น ผนัง ท่อหรือร่องระบาย หรือ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สัมผัสกับไนโตรเซลลูโลส  ด้วยน้ำยาทำความสะอาด ห้ามขูดกระเทาะชั้นที่แห้งเกาะกับพื้นผิว ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ ให้ใช้เครื่องมือที่ทำจากโลหะทองเหลือง หรือ สแตนเลสสตีลและใช้น้ำฉีดหล่อเลี้ยงขณะขูด อย่าปล่อยคราบของเหลวไนโตรเซลลูโลสหลงเหลือติดตามก้นถังเก็บจนแห้ง ปิดฝาถังเก็บให้สนิทและปลอดภัย ห้ามทิ้งผลิตภัณฑ์ หมึก หรือ ของเหลวที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ ลงในถังขยะทั่วไป ทิ้งลงในถังเก็บที่ปลอดภัยแยกต่างหาก และมีฝาปิด การกลั่น (การรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้วที่มีไนโตรเซลลูโลส) โรงงานที่มีเครื่องรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้ว และ กากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่นหรือเครื่องรีไซเคิลสารทำละลายทั้งการทำงานแบบแบทช์และแบบต่อเนื่อง ต้องพิจารณาและปรึกษากับผู้ผลิตเครื่องถึงการรีไซเคิลสารทำละลายไนโตรเซลลูโลส แต่แรกเริ่ม เพื่อให้ผู้ผลิต ออกแบบ หรือติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม และเดินเครื่องได้อย่างปลอดภัย อุปกรณ์ ; สวิทช์ตัดการทำงาน เซ็นเซอร์อุณหภูมิ และ ไฟเตือนหรือเสียงเตือน ติดตั้งในส่วนต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการจุดติดไฟด้วยตัวเอง เช่น บริเวณสลัดจ์จากการกลั่น ทางเข้าคอนเดนเซอร์  เป็นต้น กระจกมองการทำงานในถังกลั่น แสงไฟส่องภายในถังกลั่น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบด้วยตา  สังเกตว่ามีสิ่งผิดปกติระหว่างเดินเครื่องหรือหลังเดินเครื่องเสร็จ หรือไม่ อุปกรณ์หรือการทำงานแบบลดอุณหภูมิแบบฉุกเฉิน กรณีถังกลั่นมีอุณหภูมิสูงเกินจุดเสี่ยง ถังกลั่นควรต้องมีอุปกรณ์กวนหมุนของเหลวภายใน และอุปกรณ์ใบกวนหมุน หรือใบกวาดต้องเป็นวัสดุไม่ก่อให้เกิดการสปาร์คไฟ การปฏิบัติงานกับเครื่องกลั่น/เครื่องรีไซเคิล ; พึงระลึกเสมอว่าหมึกที่แห้งมีคุณสมบัติเหมือน ไนโตรเซลลูโลส ซึ่งสามารถย่อยสลายด้วยตัวเองก่อให้เกิดไอแก๊สอันตราย และมีโอกาสเกิดปฏิกิริยา exothermic เมื่อมีปัจจัยเกื้อหนุน (ดูบล็อกที่แล้วหรือตอนที่หนึ่งของหัวข้อนี้) ศึกษาคู่มือการทำงานเครื่องกลั่น รับการอบรมการใช้งานเครื่องฯ จากผู้ผลิต  รวมถึงการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของโรงงานอย่างเคร่งครัด โหลดและกลั่นสารทำละลายใช้แล้วต่างชนิดกัน แยกกันต่างหากเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยา exothermic การโหลดสารทำละลายใช้แล้วแบทช์ใหม่ลงสู่เครื่องกลั่นขณะทำงานแบบต่อเนื่อง สามารถทำได้แต่ต้องอยู่ในอัตราที่ควบคุมให้สัมพันธ์กับอัตราการถ่ายออกของสลัดจ์ หรือถ้าให้ดีกว่าปลอดภัยกว่าควรทำการกลั่นในครั้งต่อไป เมื่อกลั่นเสร็จ หรือช่วงพักเครื่อง ต้องตรวจสอบถังกลั่นและกำจัด ทำความสะอาดคราบสลัดจ์หรือแผ่นฟิล์มที่ติดเกาะภายในถัง ท่อ อุปกรณ์ ด้วยน้ำยาหรือสารทำละลายสำหรับทำความสะอาดที่เหมาะสม ถ้าต้องใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องมือในการทำความสะอาดร่วมด้วย ต้องไม่เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการสปาร์คไฟ ห้ามเติมหรือฟีดของเหลวเข้าไปในถังกลั่นขณะที่ยังมีของเหลวที่เหลือจากการกลั่นก่อนหน้า และยังมีอุณหภูมิอุ่นๆ หรือสูงอยู่ เก็บกากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่นในถังเก็บปิดสนิท และห่างจากพื้นที่การผลิต ก่อนส่งกำจัดโดยบริษัทรับกำจัดของเสียที่ได้รับใบอนุญาตที่ถูกต้องจากกรมโรงงาน จบละครับ ไว้พบกันใหม่บล็อกหน้า  โชคดีมีความสุขครับ ข้อมูลจากบทความ “Safe Use of Cellulose Nitrate Printing Inks and Related Products in Distillation Units” by EuPIA (European Printing Ink Association)

Paint-and-Coatings

แนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ…ตอนที่ 1

 ไนโตรเซลลูโลสเป็นสารสังเคราะห์ทางปฏิกิริยาเคมีระหว่างเซลลูโลสกับกรดไนเตรทติ้ง (ของผสมระหว่างกรดไนตริกและกรดซัลฟุริก) อยู่ในรูปของแข็งสีขาว เป็นเม็ดหรือผง มีกลิ่นแอลกอฮอลล์ (เวตติ้งเอเจนท์)สำหรับไนโตรเซลลูโลสแบบเปียก  ถ้าเป็นไนโตรเซลลูโลสแบบแห้งจะเป็นลักษณะเกล็ดของแข็ง ซึ่งไนโตรเซลลูโลสแบบแห้งนี้เป็นสารที่ลุกติดไฟได้ง่าย ดังนั้นจึงมีการเติมสารให้ความชื้น (damping agent หรือ wetting agent) พวกแอลกอฮอลล์หรือน้ำ ลงไปเพื่อลดคุณสมบัติติดไฟง่ายลง ไนโตรเซลลูโลสละลายได้ในสารทำละลายอินทรีย์ ด้วยสายโซ่โมเลกุลที่แข็งแรงจึงสามารถก่อตัวเป็นแผ่นฟิล์มยืดหยุ่นที่แข็งแรง เนื่องจากไนโตรเซลลูโลสมีความแข็งแรงในการยืดสูง และมีคุณสมบัติแห้งเร็ว จึงถูกใช้เป็นสารแล็คเกอร์สำหรับงานไม้  กระดาษ หมึกพิมพ์ สารเคลือบผิวเพื่อการป้องกัน แล็คเกอร์สำหรับอากาศยาน และอื่นๆ อันตรายหรือความเสี่ยงของการใช้งานสารที่มีไนโตรเซลลูโลส หรือเซลลูโลสไนเตรดเป็นองค์ประกอบ สารไนโตรเซลลูโลสสามารถย่อยสลายตัวเองแบบรุนแรงโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจนจากอากาศ แล้วผลิตแก๊สพิษไนตรัส สารไนโตรเซลลูโลสเกรดที่มีไนโตรเจนสูงเป็นองค์ประกอบ คือวัตถุระเบิดดีดีนี่เอง แต่วางใจได้ ไนโตรเซลลูโลสที่อยู่ในหมึกพิมพ์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมทั่วไป มีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจนต่ำ อีกทั้งยังถูกผสมด้วยสารเติมเต็ม (additives) และ/หรือสารเชื่อมประสาน (binders) อื่นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติป็นตัวลดความไวต่อการเกิดระเบิดอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม การรีไซเคิลสารทำละลายที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ มีข้อพึงระวังดังนี้ การเกิดปฏิกิริยา exothermic ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนและควัน หรือการจุดติดไฟด้วยตัวเอง ควรหลีกเลี่ยงสารดังต่อไปนี้ ในการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ อลูมิเนียม ทองแดง หรือ ทองเหลือง กรด หรือ เรซินที่มีองค์ประกอบสารที่เป็นกรด อะมีนส์/อะมิโนแอลกอฮอลล์ (amines/aminoalcohols) หรือ อะมิโนเรซิน ออกซิไดซิ่งเอเจนท์ อื่น ๆ การเกิดเปลวไฟ หรือจุดติดไฟด้วยตัวเอง เมื่อมีความเข้มข้นสูง และแห้งตัว การจุดติดไฟด้วยตัวเองที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 อาศาเซลเซียส ยังไม่จบครับ ขอแบ่งเนื้อหาเป็นสองตอน จะได้ไม่ง่วง แล้วพบกันใหม่ตอนที่ 2 ครับ