solventrecycling

distillation sheme OFRU solvent recycling

หลักการกลั่นในเครื่องรีไซเคิลสารทำละลาย

การกลั่นคืออะไร การกลั่นคือกระบวนการทำให้ของเหลวระเหยเป็นไอ แล้วควบแน่นไอระเหยของของเหลวนั้นกลับมาเป็นของเหลว เก็บในถังเก็บ ตัวอย่างการกลั่นตามธรรมชาติ เช่น น้ำทะเลถูกความร้อนจากแสงแดดระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วสะสมและกักเก็บเป็นก้อนเมฆ ควบแน่นกลับมาเป็นฝน ทำไมหลักการกลั่นจึงถูกใช้ในระบบการรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้ว สารทำละลายใช้แล้วประกอบด้วยสารที่ระเหยได้ (สารทำละลาย) และสารที่ไม่ระเหย (สิ่งปนเปื้อน เช่น สี หมึก ไขมัน จารบี ใยแก้ว เป็นต้น)  สารปนเปื้อนที่ไม่ระเหยหลายตัวละลายในสารทำละลาย (ตัวอย่าง เกลือละลายในน้ำเป็นน้ำเกลือ) และไม่สามารถแยกด้วยการกรอง การกลั่นจึงเป็นวิธีที่สามารถแยกตัวถูกละลายออกจากสารทำละลายในของผสมสารละลายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างการกลั่นแบบพื้นฐานและการกลั่นลำดับส่วน การกลั่นแบบปกติสามารถแยกสารที่ไม่ระเหยและสารที่ระเหยได้ออกจากของผสมสารละลาย แต่ถ้าสารปนเปื้อนในสารทำละลายเป็นสารที่ระเหยได้เช่นเดียวกับสารทำละลาย การกลั่นลำดับส่วนสามารถจัดการแยกของผสมแบบนี้ได้ การกลั่นลำดับส่วนมีความซับซ้อนและราคาสูง ใช้หลักการคล้ายกับการกลั่นน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม การกลั่นลำดับส่วนสามารถใช้กับการรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้วบางแอพพลิเคชั่นเท่านั้น อะไรคือการกลั่นสภาวะสูญญากาศ การกลั่นภายใต้สภาวะสูญญากาศ คือการกลั่นของเหลวภายใต้ความดันบรรยากาศที่ถูกทำให้ลดลง เป็นผลให้สามารถต้มของเหลวให้ระเหยที่จุดเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่าค่าปกติของของเหลวนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของเครื่องหรือระบบไม่ให้เกิดการจุดติดไฟด้วยตัวเอง หรือเกิดการระเบิด การกลั่นสภาวะสูญญากาศยังช่วยลดเวลาในการกลั่นทั้งระบบ เป็นการลดพลังงาน ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย ขอบคุณครับ admin – 3.05.2019

nitrocellulose flame

ตอนที่ 2 – แนวทางการใช้งานอย่างปลอดภัยของสารไนโตรเซลลูโลสในหมึกพิมพ์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

การทำงาน หรือการจัดการแบบปลอดภัย กับการรีไซเคิ้ลสารทำละลายใช้แล้วที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ การเก็บรวบรวมสารทำละลายใช้แล้ว ปฏิกิริยา exothermic  อาจเกิดขึ้นเมื่อหมึกพิมพ์ไนโตรเซลลูโลสสัมผัสกับหมึกชนิดอื่นๆ หรือโรงพิมพ์ที่มีสารเคมีตัวอย่างดังต่อไปนี้ ที่มีโอกาสทำปฏิกิริยากับเซลลูโลสไนเตรท หมึกที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายพื้นฐาน และมีแอมโมเนีย หรือ อะมิโนแอลกอฮอลล์เป็นองค์ประกอบ หมึกยูวี และมีน้ำมันวานิชที่มีสารประกอบอะมิโน หมึกทำละลายปราศจากไนโตรเซลลูโลสที่มีสารเติมเต็มอัลคาไลน์ สารเคมีกรด สารเคมีเบส (อัลคาไลน์) หรือ สารประกอบโลหะเข้มข้น คำแนะนำการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย แยกเก็บบรรจุในภาชนะที่ใช้ได้กับแต่ละสารอย่างปลอดภัย ในที่ที่ปลอดภัยและห่างจากพื้นที่ฝ่ายผลิต ตรวจสอบคุณสมบัติกากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่น คัดแยก เก็บรวบรวม และกำจัดอย่างถูกต้องและอยู่ในการควบคุม ปรึกษาผู้ผลิตหมึก ขอคำแนะนำ ถึงความเสี่ยงในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และมาตรการการป้องกันความเสี่ยง การแห้งตัวของไนโตรเซลลูโลส ความเสี่ยง : การแห้งตัว หรือเกือบแห้งของสารไนโตรเซลลูโลสที่หลงเหลืออยู่จากถังกลั่น (เครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์) หรือแม้กระทั่งปริมาณสารที่หกหรือเกาะเป็นชั้นตามพื้น ผนัง อุปกรณ์ที่สัมผัสกับสาร  อาจทำให้เกิดเปลวไฟ หรือการจุดติดไฟด้วยตัวเอง คำแนะนำการจัดการเพื่อให้เกิดความปลอดภัย หมั่นทำความสะอาดคราบสารที่หก กระเด็น บนพื้น ผนัง ท่อหรือร่องระบาย หรือ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สัมผัสกับไนโตรเซลลูโลส  ด้วยน้ำยาทำความสะอาด ห้ามขูดกระเทาะชั้นที่แห้งเกาะกับพื้นผิว ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ ให้ใช้เครื่องมือที่ทำจากโลหะทองเหลือง หรือ สแตนเลสสตีลและใช้น้ำฉีดหล่อเลี้ยงขณะขูด อย่าปล่อยคราบของเหลวไนโตรเซลลูโลสหลงเหลือติดตามก้นถังเก็บจนแห้ง ปิดฝาถังเก็บให้สนิทและปลอดภัย ห้ามทิ้งผลิตภัณฑ์ หมึก หรือ ของเหลวที่มีไนโตรเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ ลงในถังขยะทั่วไป ทิ้งลงในถังเก็บที่ปลอดภัยแยกต่างหาก และมีฝาปิด การกลั่น (การรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้วที่มีไนโตรเซลลูโลส) โรงงานที่มีเครื่องรีไซเคิลสารทำละลายใช้แล้ว และ กากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่นหรือเครื่องรีไซเคิลสารทำละลายทั้งการทำงานแบบแบทช์และแบบต่อเนื่อง ต้องพิจารณาและปรึกษากับผู้ผลิตเครื่องถึงการรีไซเคิลสารทำละลายไนโตรเซลลูโลส แต่แรกเริ่ม เพื่อให้ผู้ผลิต ออกแบบ หรือติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม และเดินเครื่องได้อย่างปลอดภัย อุปกรณ์ ; สวิทช์ตัดการทำงาน เซ็นเซอร์อุณหภูมิ และ ไฟเตือนหรือเสียงเตือน ติดตั้งในส่วนต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการจุดติดไฟด้วยตัวเอง เช่น บริเวณสลัดจ์จากการกลั่น ทางเข้าคอนเดนเซอร์  เป็นต้น กระจกมองการทำงานในถังกลั่น แสงไฟส่องภายในถังกลั่น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจสอบด้วยตา  สังเกตว่ามีสิ่งผิดปกติระหว่างเดินเครื่องหรือหลังเดินเครื่องเสร็จ หรือไม่ อุปกรณ์หรือการทำงานแบบลดอุณหภูมิแบบฉุกเฉิน กรณีถังกลั่นมีอุณหภูมิสูงเกินจุดเสี่ยง ถังกลั่นควรต้องมีอุปกรณ์กวนหมุนของเหลวภายใน และอุปกรณ์ใบกวนหมุน หรือใบกวาดต้องเป็นวัสดุไม่ก่อให้เกิดการสปาร์คไฟ การปฏิบัติงานกับเครื่องกลั่น/เครื่องรีไซเคิล ; พึงระลึกเสมอว่าหมึกที่แห้งมีคุณสมบัติเหมือน ไนโตรเซลลูโลส ซึ่งสามารถย่อยสลายด้วยตัวเองก่อให้เกิดไอแก๊สอันตราย และมีโอกาสเกิดปฏิกิริยา exothermic เมื่อมีปัจจัยเกื้อหนุน (ดูบล็อกที่แล้วหรือตอนที่หนึ่งของหัวข้อนี้) ศึกษาคู่มือการทำงานเครื่องกลั่น รับการอบรมการใช้งานเครื่องฯ จากผู้ผลิต  รวมถึงการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของโรงงานอย่างเคร่งครัด โหลดและกลั่นสารทำละลายใช้แล้วต่างชนิดกัน แยกกันต่างหากเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยา exothermic การโหลดสารทำละลายใช้แล้วแบทช์ใหม่ลงสู่เครื่องกลั่นขณะทำงานแบบต่อเนื่อง สามารถทำได้แต่ต้องอยู่ในอัตราที่ควบคุมให้สัมพันธ์กับอัตราการถ่ายออกของสลัดจ์ หรือถ้าให้ดีกว่าปลอดภัยกว่าควรทำการกลั่นในครั้งต่อไป เมื่อกลั่นเสร็จ หรือช่วงพักเครื่อง ต้องตรวจสอบถังกลั่นและกำจัด ทำความสะอาดคราบสลัดจ์หรือแผ่นฟิล์มที่ติดเกาะภายในถัง ท่อ อุปกรณ์ ด้วยน้ำยาหรือสารทำละลายสำหรับทำความสะอาดที่เหมาะสม ถ้าต้องใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องมือในการทำความสะอาดร่วมด้วย ต้องไม่เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดการสปาร์คไฟ ห้ามเติมหรือฟีดของเหลวเข้าไปในถังกลั่นขณะที่ยังมีของเหลวที่เหลือจากการกลั่นก่อนหน้า และยังมีอุณหภูมิอุ่นๆ หรือสูงอยู่ เก็บกากสลัดจ์ที่ได้จากการกลั่นในถังเก็บปิดสนิท และห่างจากพื้นที่การผลิต ก่อนส่งกำจัดโดยบริษัทรับกำจัดของเสียที่ได้รับใบอนุญาตที่ถูกต้องจากกรมโรงงาน จบละครับ ไว้พบกันใหม่บล็อกหน้า  โชคดีมีความสุขครับ ข้อมูลจากบทความ “Safe Use of Cellulose Nitrate Printing Inks and Related Products in Distillation Units” by EuPIA (European Printing Ink Association)

ASC-150withDemisterSampleInstallation

How important to own Solvent Recycling System in your factory – TH version

สวัสดีครับ วันนี้หัวข้อเรื่องการมีเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์ใช้เองที่โรงงานจำเป็นหรือไม่ คงเป็นคำถามที่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเคยมี  ประโยชน์ของการมีเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์มีมากมาย แต่มันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าโรงงานของท่านผู้ประกอบการมีลักษณะดังที่ผมจะให้ข้อมูลต่อไปนี้ สารทำละลายใช้แล้ว จัดว่าเป็นของเสียอันตราย แต่มีสารทำละลายใช้แล้วหลายตัวสามารถนำมาผ่านกระบวนการกลั่นด้วยเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์แล้วได้สารทำละลายที่บริสุทธ์สะอาดกลับมาใช้ได้อีก อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ผู้ประกอบการจะตัดสินใจลงทุนซื้อเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์  ขอให้พิจารณาวิธีการหรือขั้นตอนการบำบัดอื่นๆ ด้วย เช่น การแยกสารละลายชั้นบนไปอีกภาชนะหนึ่ง ออกจากตะกอนของแข็งด้านล่าง การกรองแบบง่ายๆ การปั่นให้ตกตะกอน แต่สำหรับสารทำละลายที่ผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวถูกละลาย  การกลั่นด้วยเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์คือคำตอบครับ อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์จะเหมาะกับทุกโรงงานที่ต้องการนำโซลเว้นท์ปนเปื้อนไปผ่านการกลั่นจากเครื่องฯ แล้วนำกลับมาใช้อีก  มีคำถาม 4 คำถามต่อไปนี้ ที่อยากให้ท่านผู้ประกอบการตรวจสอบดู ก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์ 1.โซลเว้นท์สะอาดที่ถูกกลั่นออกมาจากเครื่องฯ สามารถนำกลับมาใช้กับกระบวนการผลิตหรือการใช้งานปกติของโรงงานได้หรือไม่ ในหลายกรณี  ของผสมสารทำละลายใช้สำหรับการทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องมือ และใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการผลิต เช่น สี หมึกพิมพ์ การผลิตสูตรกาว  ถ้าสารผสมของโซลเว้นท์มีจุดเดือดแตกต่างกันมากๆ การกลั่นเพื่อให้ได้มาสารทำละลายสะอาดบริสุทธ์ อาจมีคุณสมบัติแตกต่างจากสารทำละลายผสมดั้งเดิม  ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับการนำกลับไปใช้งานตั้งต้น 2.ถ้าสารทำละลายสะอาดที่ได้จากการกลั่น ไม่สามารถนำกลับมาใช้กับการใช้งานตั้งต้น พอจะมีกระบวนการผลิตอื่น หรือ การใช้งานอื่นๆ ที่สารทำละลายนี้ นำไปใช้งานได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือมี  เครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์ก็เป็นเครื่องที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ 3.สารทำละลายปนเปื้อนที่แตกต่างกัน ควรถูกจัดเก็บแยกกัน การนำโซลเว้นท์ใช้แล้วที่ต่างชนิดกันมาผสมอยู่ในถังเก็บเดียวกัน แล้วนำมากลั่นด้วยเครื่องรีไซเคิลโซลเว้นท์  สารทำละลายผสมสะอาดที่ได้  อาจไม่สามารถนำกลับมาใช้กับการใช้งานตั้งต้น 4.มีเทคโนโลยีการแยกอื่นๆ ที่เหมาะสมกว่าไหม การกลั่นเหมาะสำหรับการแยกของเหลวที่ใกล้เคียงกัน  ถ้าสารทำละลายใช้แล้วมีของแข็งเป็นองค์ประกอบหลัก ควรแยกกรองเอาของแข็งออกจากสารทำละลายโดยการกรอง ถ้าสารทำละลายใช้แล้วมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่มีขนาดโมเลกุลแตกต่างกันมากๆ เช่น สารทำละลายที่มีโพลีเมอร์หรือเรซินเป็นองค์ประกอบอยู่  การกรองด้วยเมมเบรนก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ขอบคุณครับ แล้วพบกันใหม่บล็อคหน้า admin – 29.06.2018